Canonical Tag คืออะไร ช่วยแก้ปัญหาคอนเทนต์ซ้ำได้ยังไงบ้าง?
Canonical Tag คือ แท็ก HTML ที่ใช้บอกส่วนของเว็บไซต์ว่าหน้าเว็บหรือ URL นั้นเป็นเว็บหลักหรือหน้าที่เป็นต้นแบบสำหรับเนื้อหาที่มีอยู่บนหลาย URL ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน โดยทำให้เว็บค้นหาอย่าง Google เข้าใจและจัดลำดับหน้านั้นให้ถูกต้องตามเวอร์ชันหลักที่ระบุในแท็ก Canonical เพื่อลดปัญหาการทับซ้อนของเนื้อหาและป้องกันการลดคะแนน SEO ของเว็บไซต์
บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับวิธีจัดการ Content ที่มีเนื้อหาซ้ำหรือคล้ายกันว่า ระหว่างการทำ Canonicalize, Noindex หรือ ไม่ต้องทำอะไรเลย ทั้ง 3 วิธีนี้เราควรพิจารณาเลือกใช้อย่างไรและตอนไหนบ้างมาดูกัน
Canonicalize คืออะไร
Canonical Tag หรือ Canonical URL คือ URL ที่มีการเข้าถึงในหลากหลาย Address แต่มีเนื้อหาที่อาจซ้ำกันนั่นเอง
ยกตัวอย่างการทำ Canonical Tag ที่เข้าใจง่าย ๆ เช่น
เว็บไซต์ข่าวหนึ่งชื่อ news.com เราสามารถเข้าถึงได้ในรูปแบบดังนี้
- https://m.news.com /
- https://mobile.news.com /
- https://news.com/index/ /
- https://news.com/
จาก URL ดังกล่าว เป็นการเข้าถึงหน้าแรกของเว็บไซต์ทั้งสิ้น ซึ่งผู้จัดทำ SEO จำเป็นต้องเรียนรู้ Conanical URL เพื่อให้การทำอันดับเว็บไซต์ทำได้ดีขึ้น ป้องกันไม่ให้ทาง Google Bot มองว่าเป็น Duplicate Content ซึ่งส่งผลเสียต่อการให้คะแนนอันดับในเว็บไซต์
(ไม่อยากไอเดียตันมารู้จัก 12 Content ยกระดับแบรนด์ของคุณกัน)
Canonical Tag มีประโยชน์อย่างไร?
โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะกลัวว่า Google จะ Index เนื้อหาในเว็บที่ซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง จนทำให้มี URL มากมาย แต่การทำ Canonical Tag จะช่วยให้เราสามารถระบุ URL เวอร์ชันที่คุณต้องการได้นั่นเอง
โดยหากเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาที่เหมือนกันหรือคล้ายกันหลาย ๆ หน้าและเข้าถึงได้ผ่านทาง URL หลายรายการ Canonical Tag จะช่วยควบคุม URL ในผลการค้นหาได้ดีขึ้น และยังช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูล หรือคุณสมบัติอย่าง เช่น ความเป็นที่นิยมของลิงก์ จะรวมกันอยู่ในที่เดียวในเวอร์ชันที่เราต้องการ
ตัวอย่างการใช้ Canonical Tag
การใช้ Canonical คือนำมาใช้แก้ไขได้ในหลายประเด็น เช่น
ตัวอย่างที่ 1
เมื่อหน้าเว็บไซต์ของคุณมีทั้งเวอร์ชันของ HTTP and HTTPS หรือปรากฏทั้งหน้าที่เป็น www. หรือ non-www. ก็ตาม
วิธีแก้ไข
ให้ใช้ Canonical Tag บนหน้าที่มี Link หรือ Internal Link ที่มีความสำคัญไว้จนกว่าคุณจะสามารถ Redirect (การตั้งค่าให้เว็บไซต์เปลี่ยนหน้าเว็บไซต์เองอัตโนมัติ เมื่อมีการเรียกใช้ URL (ยูอาร์แอล) หนึ่ง ๆ แล้ว จากนั้นระบบก็จะทำการเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ไปเป็นอีก URL หนึ่งตามความต้องการของเรา) หน้าเว็บไซต์ที่ซ้ำกันได้
ตัวอย่างที่ 2
การทำ Canonical ตัวอย่างเช่น หากเราทำธุรกิจร้านขายเสื้อ แน่นอนว่าเสื้อหนึ่งแบบจะต้องมีหลายสี ซึ่งแต่ละสีก็จะมีหน้าเพจเป็นของตัวเอง ถึงแม้จะเป็นเสื้อแบบเดียวกันก็ตาม
วิธีแก้ไข
การติด Canonical Tag ข้างหน้าสีเสื้อนั้น ๆ มายังหน้าหลักคือหน้าประเภทของเสื้อเพื่ออ้างอิง ก็จะสามารถทำให้ Bot เข้าใจการเรียงลำดับหน้าของเว็บไซต์เราด้วยนั่นเอง
อย่างไรก็ดี นักทำ SEO ควรเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ Canonical Tag เช่นนี้ไว้ เพราะ Canonical WordPress นอกจากจะช่วยในเรื่องของการเรียงลำดับหน้าเพจที่มีเนื้อหาคล้ายกันหรือซ้ำกันแล้ว ก็ยังสามารถเรียกยอด Traffic เข้ามายังเว็บไซต์ได้เพิ่มอีกด้วย เพราะการใช้วิธีทำ Canonical Tag นี้ก็คล้าย ๆ กับการกระจายการคลิกเข้าหน้าเว็บไซต์ จึงทำให้มีโอกาสเพิ่มจำนวนการเยี่ยมชมนั่นเอง
วิธีใช้ Canonical
การใช้ Canonical Tag คือให้วาง Tag นี้พร้อม URL ของหน้าเป้าหมายในส่วนของ HTML เช่น
<head>
<link rel=”canonical” href=”http://www.sogoodweb.com/”/>
</head>
Canonical form คือสิ่งที่สามารถแจ้งทาง Google ว่าหน้าเว็บเราหน้าไหนมีลักษณะคล้าย ๆ กัน ซึ่งการใช้จะส่งผลให้ภาพลักษณ์ของเว็บเราดีขึ้นอีกด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ Canonical Tag
- URL ที่เขียนใน Canonical Tag ต้องเป็น URL ของหน้า Original เท่านั้น
- อย่าใส่ Canonical URLs ในหน้าที่ไม่ใช่เป้าหมาย เพราะจะทำให้หน้านั้นไม่แสดงในผลการค้นหา
- ห้ามมี Html Canonical มากกว่า 1 tag ในหน้า HTML เดียวกัน
Noindex คืออะไร?
นอกจากการทำ Canonical Tag แล้ว การทำ Noindex ซึ่งใช้หลักที่ว่า Index คือการเก็บหน้าเนื้อหาของ Google Bot แล้วล่ะก็ Noindex ก็หมายถึงการปิดกั้นการเข้ามาเก็บข้อมูลของ Bot จาก Google นั่นเอง เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยพบเจอปัญหา Google ไม่ยอม Index หน้าของเนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราอยู่บ้าง ซึ่งการทำ Noindex ก็คือแบบเดียวกันเลย เพียงแต่ว่ารอบนี้เราเป็นคนทำเองก็เท่านั้นว่าไม่อยากให้ Google Bot มาเก็บข้อมูลจากเพจไหนบนไซต์ของเราบ้าง
ซึ่งในกรณีที่เรามีปัญหาเนื้อหาซ้ำหรือคล้ายกันเยอะ การนำ Noindex Tag มาใส่ไว้ก็สามารถช่วยได้เช่นกับ Canonical Tag
Noindex มีประโยชน์อย่างไร?
ประโยชน์ของการทำ Noindex คือการลดหน้าเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพในเว็บไซต์ของเราลง โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าหลาย ๆ เว็บไซต์มักจะมีหน้าเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพมากกว่าหน้าที่มีซะอีก
หน้าที่ไม่มีคุณภาพ เช่น หน้าเนื้อหาที่ ใช้ Focus Keyword ซ้ำกับหน้าหลัก, ไม่มี Keyword ที่เด่นชัด, หน้าที่ไม่มีข้อมูลสำคัญ หรือหน้าที่มีเนื้อหาสั้นเกินไปหรือ หน้าที่ไม่ได้เขียน Title กับ Meta Description เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้ Noidex
ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาคล้าย ๆ กับการนำ Canonical Tag มาใช้ เพียงแต่ในกรณีนี้คือการที่เราจะเลือกไม่ให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูลแทนที่จะเป็นเพียงการแจ้งว่าเนื้อหามีความคล้ายกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 1
หากเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาเกี่ยวกับธุรกิจขายรถยนต์ ซึ่งรถก็จะมีหลายรุ่น หลายสีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหน้าเพจดังกล่าวก็ทำให้มีหน้าเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นแต่เป็นเนื้อหาที่ซ้ำ ๆ กัน
วิธีแก้ไข
ทำ Noindex หน้าที่ไม่สำคัญ เช่น หน้าเกี่ยวกับเรา, หน้าติดต่อเรา, หน้าวิธีสั่งซื้อสินค้า หน้าข้อตกลงและเงื่อนไข เพื่อลดเนื้อหาที่ไม่จำเป็นลง
ตัวอย่างที่ 2
บนเว็บไซต์ของคุณมีสินค้าหรือบริการที่เก่าแล้วหรือไม่มีการวางจัดจำหน่ายอีกต่อไป
วิธีแก้ไข
การทำ Noindex จะช่วยลดจำนวนหน้าเหล่านี้ลงได้ ทั้งนี้ยังช่วยให้การเก็บข้อมูลของ Google Bot บนหน้าเนื้อหาที่สำคัญ ๆ ของเว็บไซต์ของเราดีขึ้นด้วย
วิธีใช้ Noindex
ให้ใส่ <meta name=”robots” content=”noindex,follow” /> ลงไปใน Head ของหน้าที่เราไม่ต้องการจะให้มัน Index ใน Google เช่น
<?php
if(is_archive()) f ?>
<meta name=’robots’ content=’noindex,follow’ />
<?php ]?>
เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการบอกให้ Google ไม่ต้องมาเก็บข้อมูลที่หน้าเว็บของเรา ซึ่งเราควรทำ Noindex ในหน้าที่เราไม่ได้โฟกัสว่าจะต้องติดหน้าแรก Google นั่นเอง นั่นก็เพื่อความเร็วในการเก็บข้อมูลของ Bot ตามที่ผมได้กล่าวไปข้างต้นด้วยเช่นเดียวกับ Canonical Tag
ข้อควรระวังในการใช้ Noindex
- อย่าวางแท็ก Noindex ของ Meta Robots บนหน้าเว็บที่มีค่า Internal Link เพราะหากเป็นเช่นนั้น เราก็ต้องเปลี่ยนเส้นทางหน้าที่เป็นปัญหานั้น ๆ ไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องอย่างถาวร เพราะการวางแท็กจะกำจัดค่า Internal Link ที่เรามีนั่นเอง
- หากเราไม่ทำการ Noindex บนหน้าเว็บที่รวมอยู่ในส่วนหลัก ส่วนท้าย หรือการนำทางที่รองรับ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคำสั่งนั้นไม่ใช่ “noindex, nofollow” แต่เป็น “noindex, follow” เพื่อให้เครื่องมือค้นหาที่รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ยังคงสามารถผ่านได้ ผ่านลิงก์ในหน้า noindexed ได้
สรุปการใช้ Canonical Tag, Noindex และการปล่อยผ่านเนื้อหาซ้ำ
ทุกคนอาจจะพอเข้าใจหลักการทำงานของวิธีแก้ทั้ง 2 อย่างแรกไปแล้วว่ามีวิธีการใช้อย่างไร ซึ่งสรุปง่าย ๆ คือ
- การใช้ Canonical Tag คือการแจ้ง Google ว่าเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาที่ซ้ำและคล้ายกันอยู่ ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปเก็บข้อมูล
- การใช้ Noindex คือ การบล็อคเนื้อหานั้นไม่ให้ Google ได้เข้าไปเก็บข้อมูลซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่หน้านั้น ๆ ไม่มีความจำเป็นหรือคุณภาพมากพอให้ Google ต้องเก็บไป
ทั้ง 2 อย่างนี้ แม้จะดูมีจุดประสงค์ในการใช้ที่ คล้ายกัน แต่ก็มีความต่างกันอยู่ ซึ่งก็อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้แบบไหน แต่สิ่งที่เหมือนกันแน่ ๆ คือทั้ง 2 วิธีนี้ (Canonical Tag, Noindex) เราเป็นฝ่ายที่ควบคุมเองเพื่อทำให้การทำงานระหว่างโครงสร้างของเว็บไซต์เราสอดคล้องกับการทำงานของ Google มากขึ้น
และถ้าหากเว็บไซต์ของคุณไม่มีความจำเป็นต้องใช้ทั้ง Canonical Tag และ Noindex วิธีดังกล่าวก็อาจปล่อยผ่านได้แต่ต้องให้แน่ใจจริง ๆ ว่าไม่จำเป็นต้องทำ เพราะท้ายที่สุดแล้วการนำเนื้อหาที่ซ้ำหรือไม่จำเป็นออกซะบ้างก็ถือเป็นการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
(อยากให้บทความปัง ยังมีองค์ประกอบสำคัญมากมายในการทำ SEO ที่คุณต้องรู้จัก)
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
Canonical แปลว่าอะไร
จะต้องใช้ Canonical Tag เมื่อไหร่บนเว็บไซต์
คำแนะนำในการใช้ Canonical Tag อย่างไรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน SEO
– ตรวจสอบให้แน่ใจว่า URL หลักที่ระบุใน Canonical Tag มีเนื้อหาเดียวกับหน้าที่คุณต้องการให้เป็นต้นแบบ
– อย่าใช้ Canonical Tag บนหน้าที่มีเนื้อหาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะอาจทำให้มีผลกระทบต่อการจัดอันดับในการค้นหา
– ใช้ Canonical Tag อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับโครงสร้างเว็บไซต์ของคุณ
ตรวจสอบประจำว่า Canonical Tag ใช้งานได้ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาดในเวลาสั้น ๆ หรือหลังการเปลี่ยนแปลงในเว็บไซต์