วิธีสร้าง Traffic หลักแสน โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ SEO แพงๆ

เป็นที่แน่นอนว่าในการทำการตลาดด้วย SEO นั้น สิ่งที่หลาย ๆ คนปรารถนาก็คือยอดการคลิกเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือ Organic Traffic ที่มีเข้ามาอย่างมากมายมหาศาลศาลนั่นเอง แต่สิ่งที่หลาย ๆ คนอาจยังเป็นกังวลกันอยู่ก็คือ กว่าจะถึงขั้นที่เรามียอด Traffic ได้ถึงหลักหมื่น-หลักแสนก็คงต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับเครื่องมือต่าง ๆ ในการใช้ทำ SEO ไปอย่างมากเช่นกัน ดังนั้น ในบทความนี้ Funnel จึงนำวิธีการเพิ่ม Traffic ให้ถึงหลักแสนด้วยวิธีเบื้องต้นที่เราใช้แล้วได้ผลโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือแพง ๆ มาฝากกัน

  • วิธีการเพิ่ม Traffic มีอะไรบ้าง?
  • เนื้อหาแบบไหนที่จะทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพ?

เครื่องมือ  SEO แพง ๆ จำเป็นแค่ไหน ต้องใช้เวลาเท่าไหร่จึงจะเห็นผล?

เป็นที่รู้กันดีว่า ในการทำ SEO นั้นมีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับการเพิ่มยอด Traffic เพื่อให้ติดอันดับอยู่มากมาย เช่น ต้องทำ Backlink  หรือ ต้องซื้อคำหลัก / ยิงโฆษณา เพื่อให้ได้มาซึ่งยอดคลิกเข้าเว็บไซต์ตามที่ต้องการ รวมถึงสามารถไต่อันดับบน Google Ranking ได้อย่างมั่นคงด้วย

ยังไงก็ตาม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเชื่อเหล่านั้นสามารถใช้ได้ผลจริง แต่ก็เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพงทีเดียว ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลาย ๆ คนอยากจะทดลองวิธีที่เป็นแบบ Organic กันก่อน เพื่อที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด

แล้ววิธี Organic ที่ว่า คืออะไรกัน?

หากจะพูดกันตามจริงแล้ว ทุกวันนี้ เราไม่จำเป็นต้องรู้ว่า SEO หมายถึงอะไรก็สามารถสร้างเนื้อหาหรือบทความที่มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องมือทั้ง Backlink หรือ Keyword ที่ยิงโฆษณาด้วยซ้ำไป ก็สามารถทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเรียกยอด Traffic ได้

ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ เขียนเนื้อหาที่ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุดและตอบโจทย์กับผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด และหลังจากสองสามเดือนของการทำงานอย่างหนัก คุณเริ่มเห็นการเข้าชมที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ

สิ่งที่ต้องยึดไว้เสมอในการใช้วิธีแบบ Organic มีอะไรบ้าง?

จากที่ได้พูดไปทั้งหมด นอกจากการจัดทำเนื้อหาหรือบทความให้ได้คุณภาพแล้ว เราไม่จำเป็นต้องทำอะไรอีก ดังนั้น สิ่งที่คุณควรยึดไว้หลัก ๆ เพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายด้วยวิธีนี้ก็คือ…

  • ไม่ใช้เทคนิคหรือเครื่องมือราคาแพงเด็ดขาด
  • ยิ่งให้คนไม่มีประสบการณ์ SEO มาทำยิ่งดี
  • ต้องไม่มีการสร้าง Backlink / Outreach (การฝากบทความไว้ที่เว็บไซต์อื่น ๆ )
  • ไม่สร้าง Pre-built audience
  • ไม่ใช้บริการเพื่อทำ SEO จาก Outsource
  • ไม่มีการทำ guest posts (การเขียนบล็อกและเผยแพร่บนเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อดึงดูดการเข้าชมกลับมายังเว็บไซต์ของเรา)
  • ไม่มีการโปรโมตบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ 

สิ่งเหล่านี้ แม้จะทำให้เป้าหมายของเราสามารถบรรลุได้ง่ายขึ้น แต่ต้องบอกเลยว่าเครื่องมือหรือเทคนิคแต่ละอย่างจากที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนมีราคาที่ต้องจ่าย และจ่ายอย่างหนักด้วย ดังนั้น พยายามหักห้ามใจเอาไว้จะดีที่สุด

ข้อจำกัดของการใช้วิธีสร้างเนื้อหาและบทความ: จากที่ได้พูดมาทั้งหมด ทุก ๆ คนจะเห็นได้แล้วว่าแนวทางนี้นอกจากจะไม่ต้องเสียเงินแพง ๆ ไปกับเทคนิค SEO แบบพิเศษแล้ว ก็ยังช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายของยอด Traffic ได้เช่นเดียวกัน แต่ข้อจำกัดก็คือเราต้องใช้เวลานานทั้งในการนั่งทำเนื้อหาและใช้เวลานานกว่าในการรอผลลัพธ์ ดังนั้น ต้องใจเย็น ๆ และมุ่งมั่นในการทำเนื้อหาที่มีคุณภาพเข้าไว้ เพราะทุก ๆ คนจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจอย่างแน่นอน

วิธีเริ่มต้นสร้างเนื้อหาหรือบทความในเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ

การที่เราจะสามารถสร้างเนื้อหาหรือบทความที่มีคุณภาพได้อย่างแท้จริงนั้น สิ่งสำคัญคือการต้องเลือกทำบทความที่สามารถตอบโจทย์ User ได้อย่างแท้จริง

ซึ่งหลาย ๆ คนอาจเข้าใจไปว่าการทำเนื้อหาที่ดีคือการใช้คำหลักหรือ Keyword ต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด แต่ความจริงแล้วมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกัน เช่น Topic หรือ Headline ต่าง ๆ ในบทความ เป็นต้น ซึ่งหากใช้ผิดก็อาจจะทำให้การทำงานของเรานั้นสูญเปล่าเลยก็ได้

ดังนั้น ในวิธีเริ่มต้น ผู้เขียนหรือนักทำ SEO มือใหม่สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วย 2 วิธี ดังนี้…

1.วิธีหา Topic ในการเขียนที่กำลังเป็นกระแส

โดยส่วนใหญ่นักทำ SEO บางคนอาจต้องใช้เครื่องมือหรือ Third-party ในการค้นหา Idea เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเขียนหรือนำมาทำเป็น Title ซึ่งที่เรารู้ ๆ กัน เมื่อมีเครื่องมือก็ต้องมีการเสียเงิน แต่สำหรับผู้เริ่มต้น เราสามารถหา Idea ในการเขียนบทความโดยไม่ให้เสียค่าใช้จ่ายสามารถหาได้ในช่องค้นหาบน Google แบบฟรี ดังภาพต่อไปนี้

จะเห็นได้ว่า เพียงแค่เราพิมพ์ประโยคสั้น ๆ ลงไป Google ก็จะทำการโชว์ Topic ต่าง ๆ บนแถบค้นหาให้เห็น ซึ่งเป็น Topic ที่เหล่า User กำลังสนใจอยู่ และทำการเสิร์ชบน Google นั่นเอง

ยังไงก็ตาม เนื่องจากมีการแข่งขันที่สูง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อหาหรือบทความที่เราสร้างจมหายไปและพ่ายแพ้ให้กับนักทำ SEO มือฉมัง เราก็ต้องสู้ด้วยการใช้ Related และ Longtail Keyword เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

2.วิธีหา Related และ Longtail Keyword เพื่อจับกลุ่มเป้าหมาย

ในการทำ SEO นั้น แน่นอนว่ามีการแข่งขันที่สูง ซึ่งจากที่ได้บอกไปว่านอกจาก Keyword ที่มี Search Volume (ปริมาณการค้นหา) ที่สูงแล้ว องค์กรบางที่ก็ได้ทำการยิงโฆษณาด้วย Keyword นั้น ๆ ด้วย นั่นจึงเป็นข้อที่ทำให้เราเสียเปรียบ ฉะนั้น เพื่อให้เราสามารถเข้าถึงเป้าหมายได้เช่นเดียวกัน ก็ให้มือใหม่ทั้งหลายใช้วิธีการนำ Related และ Longtail Keyword มาใช้ให้มากขึ้น

โดยวิธีการหา Keyword ต่าง ๆ ดังกล่าวก็สามารถหาได้จาก Google เช่นเดิม ตามตัวอย่างภาพดังต่อไปนี้

จะเห็นได้ว่าในภาพที่ 1 (ด้านบน) และภาพที่ 2 (ด้านล่าง) มียอดค้นหาที่ต่างกัน ซึ่งคีย์เวิร์ดที่นำมาใช้เสิร์ชก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น ข้อแนะนำคือให้ผู้เขียนเลือกคีเวิร์ดที่มียอดค้นหาที่น้อยกว่าก่อน เพราะจะง่ายกว่าหากเราจะมีคู่แข่งที่มีจำนวนน้อยเพื่อเน้นให้ User เจอเราให้ได้เร็วและง่ายมากที่สุด และหลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ทำการเขียนเพื่อให้เนื้อหามีคุณภาพต่อไป

10 วิธีสร้างเนื้อให้ได้คุณภาพเพื่อการจัดอันดับบน Google Ranking

แนวคิดตั้งต้นที่ดีในการเริ่มทำเนื้อหา คือ ผู้เขียนต้องนึกไว้เสมอว่าเราจะทำยังไงให้หลังจากที่ User อ่านเนื้อหาหรือบทความจากเราแล้วเขาไม่จำเป็นต้องไปอ่านต่อที่อื่นอีก..

ดังนั้น หากอยากเริ่มต้นให้ถูกต้อง ก็สามารถทำตามได้จาก 10 วิธีนี้

1.ทำเนื้อหาให้ครอบคลุม

จากประสบการณ์แล้ว เนื้อหาที่ดูครบครันและมีคุณภาพมากพอสำหรับ User และมีประสิทธิภาพที่จะเข้าร่วมการจัดอันดับจาก Google ได้ควรมือเนื้อหาจำนวน 2,000 คำขึ้นไป โดยต้องมีเนื้อหาที่ Related มากับโครงการเขียนดังต่อไปนี้

  • ตอบคำถามที่ User ต้องการรู้จริง ๆ และต้องไม่เพียงคำถามหลักคำถามเดียวเท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงคำถามที่มีความเป็นไปได้ที่ User อาจจะถามต่อด้วย
  • พยายามเขียนให้ครบถ้วนมากที่สุดเพื่อให้แน่ใจแล้วว่าอ่านบทความจากเราเสร็จแล้ว User ไม่จำเป็นต้องไปหาบทความอื่น ๆ ต่อ
  • และเพื่อให้ติดอันดับไวขึ้น นักเขียนต้องพยายามเรียบเรียงให้ตั้งแต่ Title ไปจนถึงเนื้อหาภายในตรงกับคีเวิร์ดการค้นหาของ User ให้ได้มากที่สุดเพื่อเรียกยอดคลิกเข้าชมเว็บไซต์และเข้าสู่การจัดอันดับในที่สุด

ยังไงก็ตาม สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตนเองจะสามารถเรียนบเรียงเนื้อหาได้ถึง 2,000 คำหรือไม่ คำแนะนำคือให้พยายามแตก Headline ออกมาให้ได้หลาย ๆ หัวข้อย่อย เพราะวิธีจะช่วยให้เราสามารถเขียนเพิ่มเนื้อหาให้ได้มากขึ้นนั่นเอง

2.พยายามเขียนบทความให้เป็น Evergreen

Evergreen Content คือ คอนเทนต์ที่ยังคงจะมีคุณค่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน คอนเทนต์นั้นๆ ก็ยังคงเป็นคอนเทนต์ที่ดูเหมือนสดใหม่ และน่าสนใจอยู่ตลอดเวลา 

ซึ่งข้อดีของมันไม่ว่าจะเป็น ไม่ต้องตามกระแส, ไม่ต้องไวรัล, User ทำการค้นหาเกี่ยวกับ Content ในหัวข้อนี้เสมอ ๆ เป็นต้น หากคุณเลือกคีย์เวิร์ด และทำคอนเทนต์ดีๆ โอกาสที่คอนเทนต์ของคุณจะติดหน้าแรกบน Search Engine นั้นก็จะมีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้คนเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณมากขึ้นตามไปด้วย 

3. ใช้ภาษาธรรมดา

อย่าพยายามเอาชนะคู่แข่งโดยการพยายามใช้ภาษาที่สละสลวยจนอ่านแล้วทำให้เข้าใจยากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ User เริ่มเบื่อและกดออกจากเว็บไซต์ไปได้ง่าย ๆ ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุดคือพยายามใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ถึงจะไม่สั้น แต่พยายามทำให้เนื้อหากระชับ เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้เนื้อหาหรือบทความของเราน่าอ่านและเป็น User Friendly มากขึ้นด้วย

4.ใช้โครงสร้างที่ชัดเจน

ใช้หัวเรื่อง หัวเรื่องย่อย และหัวเรื่องย่อยตามความจำเป็น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ช่วยให้ User สามารถอ่านและเข้าใจในบทความและวัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อได้เร็วขึ้น 

ทั้งนี้ มันยังเป็นเทคนิคที่อาจทำให้ User หลาย ๆ ชอบและกลายมาเป็นผู้อ่านประจำด้วย เพราะกิจวัตรและพฤติกรรมของผู้อ่านบางคนอาจไม่สามารถมานั่งอ่นบทความยาว ๆ ที่ติดกันเป็นพรืดแบบไม่มีหัวข้อย่อยตีกรอบเอาไว้ได้ ดังนั้น การใช้หัวข้อย่อยต่าง ๆ จะทำให้โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจนมากขึ้น

5.หลีกเลี่ยงคำแสลงในการเขียน

เป็นที่แน่นอนว่า การจำเป็นต้องใช้คำแสลงในบางเนื้อหานั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา แต่ทางที่ดีก็คือ ผู้เขียนทุก ๆ คนควรทำให้คำศัพท์เฉพาะหรือคำแสลงเหล่านั้นมีความหมาย

โดย “ความหมาย” ในที่นี้ ต้องเป็นความหมายที่เข้าถึงง่าย User อ่านแล้วเข้าใจ เพราะผู้อ่านจำเป็นต้องคำนึงด้วยว่า User ของเรานั้นสามารถมาได้จากทุกเพศ ทุกวัย หลากหลายสาขาอาชีพ ดังนั้น การที่จะใช้ศัพท์พิเศษหรือคำแสลงควรหลีกลี่ยงให้ได้มากที่สุด

6.ใช้ภาพประกอบเสมอ

คงไม่มีใครชอบที่จะอ่านเนื้อหายาว ๆ โดยไม่มีภาพประกอบเลย เพราะการที่บทความขาดภาพก็เหมือนสวนที่ขาดดอกไม้ แม้จะมีเนื้อหาที่ดีมากแค่ไหนแต่ก็คงทำให้ User เกิดอากรเบื่ออยู่ไม่น้อย 

ดังนั้น ผู้เขียนควรพยายามเลือกรูปที่เกี่ยวข้อกับเนื้อหามาใส่ด้วย เพื่อให้เนื้อหามีความน่าสนใจมากขึ้น อีกทั้งยังปรับรูปลักษณ์ของเนื้อหาให้หน้านั้น ๆ ดูดีขึ้นอีกด้วย

7.เพิ่ม Internal Link ที่เหมาะสม

สำหรับการเพิ่ม Internal Link หรือ ลิงก์ภายในของบทความที่เราได้ทำการโพสต์แล้ว เข้ามาในหน้าเนื้อหานั้น นอกจากจะทำให้ Google Bot ทำการอ่านและตรวจบทความของเราได้เร็วขึ้นแล้วก็ยังมีข้อดีอีกหลาย ๆ อย่างที่ผู้เขียนอาจไม่เคยรู้

เนื่องจาก การที่ Google จะมองว่าเนื้อหาหรือเว็บไซต์ของเรามีประโยชน์ต่อ User ได้นั้น นอกจากจะมียอด Traffic ที่เข้ามาเยอะแล้ว ก็ยังมีอัตราการหรือระยะเวลาการเข้าชมของ User ด้วยที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการตัดสิน ดังนั้น การเพิ่ม Internal Link ของเนื้อหาใหม่ที่มีความเกี่ยวข้อกับเนื้อหาเก่า ๆ นั้นจะสามารถดึง User ให้อยู่กับเว็บไซต์ของเราได้นานขึ้นนั่นเอง

8.ทำให้เนื้อหาเป็น Mobile Friendly

หากแปลตรงตัวก็คือ “การทำให้เป็นมิตรกับโทรศัพท์มือถือ” ซึ่งหมายถึงการทำให้เนื้อหาของเรานั้นสามารถอ่านได้ง่ายขึ้นแม้จะอยู่บนหน้าจอโทรศัพท์ก็ตาม

ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าในปัจจุบันเครื่องสื่อสารที่ได้ความนิยมมากที่สุดคือ มือถือ ซึ่งนั้นหมายถึง User จะใช้งาน Google เพื่อค้นหาข้อมูลผ่านมือถือด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การทำให้เนื้อหา Friendly กับมือถือ สามารถทำได้หลาย ๆ อย่าง เช่น การปรับเนื้อหาให้กระชับมากขึ้น, การเลือกใช้รูปที่ไม่ใหญ่จนเต็มหน้าจอมากไป หรือ การปรับ Layout ให้ดูสะอาดตามากขึ้น (ส่วนใหญ่อาจอยู่ในส่วนงานของผู้ดูแลเว็บไซต์) เป็นต้น

จะช่วยให้การอ่านและน้ำหนักของหน้าเนื้อหานั้น ๆ บนหน้าจอมือถือเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และทำให้โหลดขึ้นหน้าจอเร็วขึ้น User อ่านได้ทันใจนั่นเอง

9.กำหนดระยะระหว่างเนื้อหาและหน้าจอของผู้ใช้เดสก์ท็อป (คอมพิวเตอร์ /โน้ตบุ๊ค)

หลังจากที่รู้แนวทางการปรับแต่งหน้าเนื้อหาให้เป็น Mobile Friendly แล้ว ต่อมาคือการปรับแต่งให้เหมาะกับผู้ที่ใช้เดสก์ท็อปให้ใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ใช้เดสก์ท็อปมักประสบปัญหาการที่ต้องอ่านเนื้อหาในหน้าบทความที่มีระยะของบรรทัดเนื้อหาที่กว้างติดกับขอบหน้าจอมากเกินไป จึงทำให้เวลาอ่านหรือมองหน้าจอโดยภาพรวมขณะที่อ่านดูอึดอัด ไม่สบายตา ดังนั้น เหล่านักเขียนจึงควรทำให้ระยะห่างของทั้ง 2 สิ่งนี้เหมาะสมมากขึ้น ทำให้ระยะของเนื้อหาจากกว้างกลายเป็นแคบลงเพื่อให้ User ใช้งานได้ดีขึ้นนั่นเอง

10.ดูที่คู่แข่ง

ในเทคนิคนี้ไม่ได้หมายถึงให้นักเขียนไปคัดลอกหรือขโมยไอเดียจากคู่แข่งแล้วนำมาใส่ในหน้าเนื้อหาของตนเอง แต่เป็นการนำเนื้อหาของคู่แข่งมาวิเคราะห์และทำให้ดีกว่า เช่น หากคู่แข่งมีเนื้อหาที่มาก เราก็เพิ่มเนื้อหาให้มากกว่า หรือคู่แข่งอาจจะมีหน้าเนื้อหาที่ไม่ Friendly ต่อหน้าจอมือถือหรือเดสก์ท็อปมากพอ ดังนั้น เราจึงต้องใช้จุดอ่อนของคู่แข่งของเราดันตัวเราให้สูงขึ้นเพื่อให้ได้ยอดคลิกจาก User และถูกจัดอันดับจาก Google ให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีมากที่สุด

ยังไงก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเทคนิคที่มาจากประสบการณ์ของผู้เขียนเท่านั้น ยังมีอีกหลายวิธีที่นักเขียนมือใหม่สามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมาย ทั้งนี้ ขอบอกเพื่อเป็นแนวทางอีกนิดหน่อยว่า  เครื่องมือ SEO ที่เราต้องจ่ายในราคาแพง ไม่ใช่ไม่สำคัญ แต่การที่เราหาหนทางอื่น ๆ ที่ได้ผลลัพธ์เหมือนกันเพื่อการประหยัดงบนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น ไม่สำคัญว่าเราจะเลือกใช้เครื่องมือ SEO หรือ ใช้วิธีแบบ Organic เพื่อให้ได้ Trafficเยอะ ๆ  แต่สำคัญที่เราพยายามหาทางเลือกอื่น ๆ เพื่อต่อยอดต่อไปมากกว่านั่นเอง

Similar Posts