15 เครื่องมือ SaaS ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ในปี 2023

“SaaS” เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินชื่อเจ้าระบบตัวนี้และพอจะเข้าใจในหลักการทำงานของมันมาบ้างแล้ว แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นเดียวกันว่า ก็ยังมีคนอีกหลาย ๆ กลุ่มหรือผู้ที่เข้ามาในวงการการทำธุรกิจใหม่ ๆ อาจจะยังไม่รู้จักและไม่ทราบว่า SaaS คืออะไรและมันช่วยส่งเสริมในการทำงานด้านธุรกิจได้ยังไงบ้าง ในบทความนี้ Funnel จึงจะมาทำการไขข้อสงสัยของทุกคนและจะมานำเสนอระบบ SaaS ในเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ของปี 2023 ที่ดีที่สุดถึง 15 แบบด้วยกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กัน

  • 15 เครื่องมือ SaaS มีอะไรบ้าง?
  • เทรนด์ Saas ที่มาแรงตอนนี้คืออะไร?

อะไรคือความแตกต่างระหว่างเครื่องมือ SaaS และซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิม?

Software-as-a-service (SaaS) เป็นรูปแบบการให้บริการ Software ผ่านอินเทอร์เน็ต การเข้าใช้งาน Software ผ่านทาง Web Browser แตกต่างจาการใช้งานแบบเดิมๆ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ License คล้ายกับการเช่าใช้ โดยคิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งานจริง เช่น ตามจำนวนผู้ใช้งาน ระยะเวลาการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในส่วน Hardware, Software License รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบ เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมดให้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งาน Software และ Web Browser ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ไหนก็ได้

โดยในปัจจุปันในหลาย ๆ ธุรกิจต้องการความสะดวกในการใช้งาน Software ต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และลดปัญหาความผิดพลาดของโปรแกรมนั้น ๆ แนวคิด Cloud Computing ได้มีการพัฒนามาเป็น SaaS รูปแบบการขายซอฟต์แวร์ โดยให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต  โดยการให้บริการที่ผู้ใช้เข้าใช้งานซอฟต์แวร์ หรือรวมไปถึงฮาร์ดแวร์เป็นหลัก จะผู้ให้บริการเป็นผู้สร้างซอฟต์แวร์นั้นขึ้นมา และผู้ให้บริการเป็นผู้ควบคุม/บริหารจัดการทรัพยากรของระบบทั้งหมดนั่นเอง โดยผู้ใช้บริการไม่ต้องลงทุนด้านเพิ่มเติมในส่วน Hardware, Software License อีกต่อไปนั่นเอง

บ่อยครั้ง ซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่ซื้อโดยบริษัทธุรกิจขนาดเล็กกลายเป็น “ช้างเผือก” อีกตัวที่บริษัทเหล่านั้นต้องดูแล หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นซอฟแวร์ชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่ใหญ่จนเกินจำเป็นสำหรับบริษัทเล็ก ๆ นั่นเอง ดังนั้น โซลูชันแบบนี้จึงมีความเป็นไปได้มากกว่าสำหรับองค์กรขนาดใหญ่

ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ก็ให้ลองคิดว่าการเลือกใช้ Saas เป็นการเช่าแฟลตธรรมดา ๆ ให้พออยู่อาศัย เพราะคงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะซื้ออพาร์ทเม้นหรือบ้านเลยทันทีทั้ง ๆ ที่เราสามารถเช่าแฟลตอยู่ตามความสะดวกของเราไปก่อน และค่อยซื้อบ้านในเวลาที่เหมาะสม

ยังไงก็ตาม เราไม่ได้บอกว่าผลิตภัณฑ์ SaaS สร้างขึ้นสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจเท่านั้น ถึงจะมีความเหมาะสมในเรื่องของความคล่องตัวของระบบและค่าใช้จ่ายที่เจ้าของธุรกิจเล็ก ๆ หรือเจ้าของธุรกิจมือใหม่สามารถแตะต้องได้ แต่องค์กรใหญ่ ๆ ก็สามารถนำระบบ SaaS มาพิจารณาปรับใช้ได้เช่นเดียวกัน

เพื่อให้เข้าใจ SaaS ดียิ่งขึ้น มาดูผู้ให้บริการ SaaS ที่แพร่หลายมากที่สุด ซึ่งเราใช้บริการทุกวัน ตัวอย่างเช่น โดยชำระค่าสมัครสมาชิก Netflix เราสามารถรับชมรายการทีวีและภาพยนตร์ที่มีลิขสิทธิ์ได้ Gmail และแพลตฟอร์มอีเมลออนไลน์อื่นๆ ก็เป็น SaaS เช่นกัน

ตัวอย่างของ SaaS ที่คุ้นเคยกันดีก็อย่างเช่นอีเมล ที่เราสามารถเชื่อมต่อเน็ตแล้วคลิกเข้าไปรับส่งอีเมลได้เลยโดยไม่ต้องโหลดโปรแกรม หากขยับการใช้งานให้หลากหลายมากขึ้นก็จะพบ Dropbox, Google Workspace, Zendesk ที่ล้วนเป็น SaaS ที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน 

ข้อได้เปรียบของ SaaS ที่แตกต่างจากการใช้งานเดิม ๆ ก็คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องลงทุนในการซื้อ Hardware เช่น Server หรือ Harddisk เพื่อใช้ในการประมวลผล จัดเก็บข้อมูลเลยแม้แต่น้อย ไม่ต้องคอย Backup อัปเกรดระบบหรือพัฒนาระบบเอง เพราะทุกข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้โดยผู้ให้บริการผ่านระบบ Cloud ลักษณะของการซื้อซอฟต์แวร์ SaaS จึงอยู่ในรูปแบบของการซื้อ License คล้ายกับการเช่าใช้ โดยคิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งานจริง เช่น จำนวนผู้ใช้งาน ระยะเวลาการใช้ ซึ่งถือว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการติดตั้งและดูแลระบบไปได้มหาศาล

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เราจะมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า SaaS มีข้อดียังไง แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับประเภทของเจ้าระบบตัวนี้กันก่อนว่ามีอะไรบ้าง

SaaS 3 ประเภทที่ควรรู้จัก

สำหรับระบบ SaaS นั้นสามารถจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม ซึ่งซอฟเวอร์แบบ SaaS กลายเป็นระบบที่ถูกนำมาใช้ในแทบทุกด้าน ตั้งแต่ FinTech และ e-Commerce ไปจนถึงการศึกษา ซึ่งเครื่องมือ SaaS ดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทที่แตกต่างกัน ได้แก่…

Horizontal SaaS

รูปแบบธุรกิจแบบ Horizontal SaaS เป็นธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าที่หลากหลายจากสาขาต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น โมเดล Horizontal SaaS ยังสามารถขยายจำนวนฟังก์ชันในการทำงานได้อีกหากบริษัทต้องการ และโดยองค์กรที่ใช้ Saas ประเภทนี้อยู่โดยเป็นที่รู้จักกันดี คือ Salesforce และ Microsoft นั่นเอง

Vertical SaaS

เครื่องมือ SaaS แนวตั้งมุ่งเป้าไปที่ผู้ชมกลุ่มแคบและตอบสนองความต้องการเฉพาะของพวกเขา ตัวอย่างเช่น สามารถเป็นแพลตฟอร์มการจัดการผู้ป่วยที่มีเป้าหมายที่คลินิกและสถานพยาบาล

Micro SaaS

เป็นผลิตภัณฑ์ SaaS ที่สร้างขึ้นโดยทีมวิศวกรกลุ่มเล็ก ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริการแก่บริษัทขนาดเล็กหรือในอุตสาหกรรมแคบ ๆ ซึ่งระบบนี้มักจะเรียกว่า “Micro SaaS” และยังมีความคล้ายคลึงกับโมเดลของ Vertical SaaS อีกด้วย ทั้งนี้ จุดโดดเด่นอีกอย่างคือมันสามารถแตกแขนงออกเป็นส่วนย่อย ๆ ออกไปได้อีกซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะใช้ Micro SaaS ในแนวทางไหน

ยังไงก็ตามการเลือกซอฟแวร์ Saas นั้นสำคัญมาก โดยเทคนิคการเลือกให้ถูกต้องและได้ประโยชน์กับองค์กรมากที่สุดคือการพิจารณาว่าแนวทางในการทำงานของธุรกิจเรานั้นมีสไตล์แบบไหน ต้องมีการเก็บข้อมูลหรือโครงสร้างระบบของการทำงานซับซ้อนแค่ไหน เพราะคำตอบของโจทย์ต่าง ๆ ที่ได้พูดมาทั้งหมดจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจมือใหม่เลือกใช้ SaaS ได้แม่นยำมากขึ้นนั่นเอง

ประโยชน์ของ Saas ต่อธุรกิจเล็ก ๆ ที่คุณอาจนึกไม่ถึง

จากที่ได้บอกไปว่าเจ้าของธุรกิจจะสามารถรู้ได้ว่าระบบ SaaS เหมาะกับธุรกิจของคุณอย่างไรได้ด้วยการรู้ถึงข้อดีของซอฟแวร์ประเภทนี้ ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายข้อด้วยกัน เช่น…

การนำออกใช้งานอย่างรวดเร็ว

SaaS ขจัดขั้นตอนการติดตั้งและการกำหนดค่าที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ในองค์กร ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณสามารถนำซอฟต์แวร์ออกใช้ทั่วทั้งธุรกิจของคุณในทันทีที่คุณเริ่มต้นการสมัครรับบริการระดับองค์กร นอกจากนี้ยังมีความเสถียรในการใช้งานเป็นอย่างมากแม้จะถูกนำออกมาใช้งานในระยะเวลาอันรวดเร็วก็ตาม SaaS ยังคงสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสามารถในการเพิ่มทรัพยากรตามความต้องการ

SaaS ช่วยคุณเพิ่มบริการหรือพื้นที่เก็บข้อมูลในการสมัครใช้บริการของคุณได้ตามต้องการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานของคุณ ความสามารถในการเพิ่มทรัพยากรของ SaaS นั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมันสามารถเพิ่มคุณสมบัติใหม่และเพิ่มจำนวนผู้ใช้ได้ตามที่เหมาะสม

มีความยืดหยุ่นในเรื่องของค่าใช้จ่าย

เนื่องจากบริการแบบ SaaS จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแบบมาตรฐาน คุณจึงสามารถวางแผนได้อย่างมั่นใจจากการที่รู้ต้นทุนค่าบริการซอฟต์แวร์ต่อปีของคุณ ผู้ให้บริการ SaaS ของคุณจะให้การบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมอยู่ในการสมัครรับบริการของคุณ และคุณยังสามารถหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินเพื่อเพิ่มขนาดความจุของเซิร์ฟเวอร์ในกรณีที่คุณต้องการเพิ่มทรัพยากรโซลูชัน SaaS ของคุณได้อีกด้วย

15 ระบบ SaaS ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจเล็ก ๆ ในปี 2023

สามารถแบ่งออกได้หลากหลายระบบตามอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1.SaaS-based CRM (การจัดการลูกค้าสัมพันธ์)

Cloud-based CRM หรือ SaaS (Software as a Service) หรือ On Demand CRM คือ CRM บนระบบคลาวด์ ที่เก็บข้อมูลแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบออนไลน์ CRM ประเภทนี้ใช้งานได้ง่ายดาย ติดตั้งง่าย ปรับใช้ได้รวดเร็ว มีความยืดหยุ่นสูง

2.Accounting and Billing SaaS Tools (เครื่องมือบัญชีและการเรียกเก็บเงิน)

โปรแกรมบัญชี(Accounting Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและประมวลผลทางบัญชี โปรแกรมบัญชีสำหรับกิจการทั่วไป ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นระบบขาย ระบบซื้อ ระบบสินค้าคลัง ระบบลูกหนี้ ระบบเจ้าหนี้ บัญชีแยกประเภทและรายงานต่างๆ ส่วนกิจการผลิตจะมีฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้นมาคือระบบการผลิต ระบบการจัดส่งสินค้า เป็นต้น โดยทั่วไปโปรแกรมบัญชีมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่น

เพื่อการเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ, เพื่อการประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ การควบคุม และเพื่อจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้องและเชื่อถือได้ เป็นต้น

3.Remote Monitoring and Management (การตรวจสอบและการจัดการระยะไกล)

เป็นระบบ SaaS ที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ สามารถตรวจสอบและจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่นอกสถานที่ได้ สามารถสั่งงานและดูสถานะของอุปกรณ์ ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบสถานะของเครื่องและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  และนอกจากนี้ RMM ยังช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างและ Run โปรแกรมต่าง ๆ ในระยะไกลได้ และสามารถดูสถิติต่าง ๆ เช่น CPU, RAM และ Disk usage ได้ เพื่อช่วยตรวจสอบปัญหาว่าระบบมีปัญหาหรือไม่อีกด้วย

4.Password Managers (ระบบจัดการรหัสผ่าน)

เป็นปัญหาของผู้ใช้กับรหัสผ่านมีมาอย่างยาวนาน ทั้งการต้องสร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อนตามข้อกำหนด การใช้รหัสผ่านซ้ำกันในแต่ละบัญชี หากต้องจำทั้งหมดก็เยอะมากอีก เพราะปัจจุบันบางคนอาจมีบัญชีออนไลน์มากกว่า 10 บัญชี หรือใช้รหัสผ่านง่ายเกินไปก็จะโดนแฮก

ดังนั้น Password Manager จึงเป็นแอปพลิเคชั่นที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยแอปพลิเคชั่นนี้จะทำหน้าเก็บข้อมูลการล็อคอิน (Login) ทั้งชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ของทุกบัญชีที่คุณมีและมีระบบป้องกันอย่างดี

เมื่อคุณต้องกรอกรหัสผ่านเจ้า Password Manager ก็จะกรอกรหัสผ่านให้คุณโดยอัตโนมัติ ดังนั้นไม่ว่ารหัสผ่านของคุณจะยากแค่ไหนก็ไม่สำคัญแล้ว เพราะคุณไม่ต้องจำมันอีกต่อไป นอกจากนี้ Password Manager สามารถสร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน

5.SaaS Tools for Communication (SaaS เพื่อการสื่อสาร)

เป็นที่ทราบกันดีว่าสิ่งที่ในทุก ๆ บริษัทต้องมีเหมือนัน นั่นคือ “การสื่อสาร” ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญของกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมด นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม เจ้าของธุรกิจทุกคนจึงเข้าใจถึงความจำเป็นในการมีซอฟต์แวร์ที่คล่องตัวสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั่นเอง

ซึ่ง SaaS นั้นก็นับว่าเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้การสื่อสารในทีมที่มีประสิทธิภาพได้ด้วยตัวของมันเอง โดยรูปแบบของการสื่อสารที่ได้พูดถึงไปก็สามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ แต่หลัก ๆ จะเป็นรูปแบบการส่งข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งนิยมมากในบริษัททุก ๆ ที่

6.SaaS-based Project Management (ระบบจัดการโครงสร้างงาน)

เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจสำหรับบุคลากรในองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าในการทำงานนั้นการจัดเก็บไฟล์งานหรือการจัดโครงสร้างระบบการทำงานในองค์กรถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ซึ่ง SaaS ตัวนี้จะสามารถช่วยให้งานในส่วนดังกล่าวมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้นด้วย ซึ่งโดยปกติแล้ว SaaS การจัดการโครงการจะเปิดใช้งานการแทรกคุณลักษณะที่กำหนดเองตามความต้องการทางธุรกิจของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง อาจเป็นแดชบอร์ด, แก้ไขกำหนดการ และการแจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานะงาน เป็นต้น

7.KPI Tracking Tool (ระบบติดตาม KPI)

KPI หมายถึง ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ประเมินผลออกมาในรูปแบบแสดงปริมาณ/ จำนวน/ ตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อชี้วัดคุณค่าของบริษัท หรือ พนักงาน ว่ามีศักยภาพ หรือ ประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ส่วน Dashboard เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารสามารถติดตามผลการดำเนินงานทั้งระดับหน่วยงาน และระดับบุคคลได้ผ่านทางออนไลน์ รวมถึงสามารถมองเห็นประสิทธิภาพในภาพรวมของบริษัทได้

วัตถุประสงค์หลักของการใช้ KPI Dashboards เพื่อต้องการสรุปข้อมูลทุกอย่างให้อยู่ในหน้าจอเดียว เพื่อให้ผู้บริหารดูข้อมูลแล้วเข้าใจได้ทันที ด้วยการรวบรวม (collecting) จัดกลุ่ม (grouping) จัดระเบียบ (organizing) และแสดงตัวชี้วัดที่สำคัญของบริษัท สามารถแสดงประสิทธิภาพของ KPI ที่สำคัญ และมุมมองเชิงเปรียบเทียบของ KPI หรือ บริษัทอื่นๆ ได้อีกด้วย

8.Conversion Rate Optimization (CRO)

เครื่องมือ CRO ใช้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้บนเว็บไซต์ของคุณ โดยปกติแล้ว เจ้าของธุรกิจจะได้รับการ Report จาก SaaS ตัวนี้ว่าพฤติกรรมของผู้คลิกเข้าเว็บไซต์ของธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณนั้นมีแนวโน้มไปในทิศทางใด รวมถึงจำนวนการเข้าชมหรือปฏิกิริยาที่ตอบสนองกับเว็บไซต์ เป็นต้น

9.Enterprise Resource Planning (ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร)

ซอฟต์แวร์และระบบที่ใช้ในการวางแผนจัดการห่วงโซ่อุปทานหลัก การผลิต การบริการ การเงิน และกระบวนการอื่นๆ ขององค์กร ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กรสามารถใช้ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในองค์กรเป็นไปโดยอัตโนมัติและง่ายขึ้น เช่น ระบบการบัญชีและการจัดซื้อ การจัดการโครงการ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการดำเนินงานซัพพลายเชน

แอปพลิเคชั่น ERP แต่ละตัวสามารถนำเสนอซอฟต์แวร์เป็นบริการ (SaaS) ในขณะที่ชุดแอปพลิเคชั่น ERP ที่สมบูรณ์จะสร้างระบบ ERP ที่สามารถใช้ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและรวมกระบวนการทางธุรกิจเข้าด้วยกันเพื่อเปิดให้การไหลของข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชั่นเป็นไปอย่างเป็นระบบ 

10.Content Management Tool (ระบบจัดการเนื้อหา)

เป็นระบบที่ช่วยสร้างและบริหารเว็บไซต์สำเร็จรูป ทำให้สามารถลดกำลังคน เวลา และต้นทุนไปได้มาก ซึ่งการใช้งาน CMS นั้น ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ เพียงแต่ศึกษาการใช้งานระบบนั้น ๆ ก่อน ทั้งยังมีโปรแกรมหรือปลั๊กอินต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่ม

ฟังก์ชั่นของเว็บไซต์ได้ เช่น ถ้าเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ก็สามารถเพิ่มตะกร้าสินค้าลงไปได้ โดยเราไม่จำเป็นต้องพัฒนาเว็บไซต์เอง รวมถึงยังเป็นระบบที่เป็นแนวคิดสำหรับการผลิตบทความและบล็อกโพสต์ที่ปรับให้เหมาะกับ SEO อีกด้วย และปัจจุบันมีบริการรับทำ SEO มากมาย ทำให้สะดวกสบายมากขึ้น

11.Human Resources (HR) SaaS Tools (ระบบจัดการทรัพยากรและบริหารงานบุคคล)

เป็นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรมนุษย์และบริหารงานบุคคลภายในองค์กร เพื่อพัฒนาข้อมูลพนักงานตามความต้องการขององค์กรรวมถึงส่วนงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องซอฟต์แวร์เหล่านี้ยังสามารถเข้าถึงการจัดการเงินเดือน โบนัส วันลา วันหยุด เพื่อสรุปยอดในแต่ละปีได้ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงานและการแข่งขันในด้านธุรกิจซอฟต์แวร์จึงเป็นตัวจัดการให้องค์กรเพิ่มความสามารถได้สูงสุด

12.e-Commerce SaaS Platform (ระบบปฏิบัติการสำหรับอีคอมเมิร์ช)

เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นสำเร็จรูปทั้งในรูปแบบของเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น หรืออื่น ๆ สำหรับร้านค้าออนไลน์โดยเฉพาะ ในการเป็นช่องทางการซื้อ-ขายของผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการซื้อขายทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ รีวิว การจัดการคำสั่งซื้อขาย การทำธุรกรรม การสนับสนุนลูกค้า การจัดส่งสินค้า และการคืนสินค้า นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง และช่วยลดค่าดำเนินการได้ด้วย

13.SaaS Healthcare Application (ระบบปฏิบัติเพื่อสุขภาพและการแพทย์)

นับเป็นเรื่องปกติที่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพเป็นแนวหน้าในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้อยู่เสมอ ดังนั้น การใช้ SaaS ในการดูแลสุขภาพจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ซึ่งซอฟแวร์สำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมทางการแพทย์มักเป็นระบบที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกำหนดเวลานัดหมายกับแพทย์และแจ้งเตือนผู้ป่วยเกี่ยวกับเวลานัดหมายหรือกินยาได้ ยิ่งไปกว่านั้น SNAP ยังช่วยให้จัดการเวชระเบียนได้ง่ายขึ้น และทำให้กระบวนการเรียกเก็บเงินและเอกสารอื่นๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แพทย์มีสมาธิกับการรักษาผู้ป่วยเพียงอย่างเดียวนั่นเอง

14.E-learning SaaS platform (ระบบการจัดการสำหรับการ E-Learning)

ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี มีการก้าวกระโดดกว้างไกลมาก ๆ เพราะฉะนั้น elearning จึงเข้ามามีบทบทสำคัญในการศึกษามากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การเรียนในรูปแบบออนไลน์ หรือ การสื่อสารผ่านระบบนี้ คือเรื่องที่ดี และยังสร้างความเป็นระเบียบวินัยให้กับนักเรียนอีกด้วย  ดังนั้น ระบบนี้ จึงเป็นระบบที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่ง SaaS ที่เข้ามามีบทบาทในส่วนของ E-Learning ก็คือซอฟแวร์ที่ช่วยครูในการ Assign งาน, ตรวจหรือแจ้งเตือนการ Submit งานของนักศึกษา และการแจ้งเตือนนักศึกษาเมื่อถึง Due Date ส่งงาน เป็นต้น

15.Property Management Software ซอฟต์แวร์การจัดการทรัพย์สิน

 การจัดการทรัพย์สิน มรดก ธุรกรรมทางการงานแน่นอนว่าต้องใช้ระบบที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อตอบสนองความต้องการผู้จัดการทรัพย์สิน สำหรับคุณสมบัติของโซลูชันเช่นการบัญชีทรัพย์สิน การจัดการผู้เช่า การติดตามการเช่าการตรวจสอบบัญชีการจัดตารางการบำรุงรักษาและการจัดการผู้จัดจำหน่าย โดยนอกจากนี้ยังมีส่วนเสริมอื่นๆอย่างเครื่องมือในการจัดการทรัพย์สินผู้ใช้สามารถจัดการคุณสมบัติในสำนักงานหรือระหว่างเดินทางและดูสถิติที่อัปเดตเกี่ยวกับธุรกิจของตนได้แบบเรียลไทม์ด้วย

สิ่งที่สำคัญที่สุดของซอฟค์แวร์ Property Management Software คือการเก็บรักษาข้อมูลอย่างปลอดภัยและเข้ารหัส SSL เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อมูลของผู้อยู่อาศัยจะถูกเก็บเป็นความลับเมื่อสมัครออนไลน์ เป็นต้น

เทรนด์ SaaS มาแรง

มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2028 มูลค่าของตลาด SaaS จะสูงถึงกว่า 720 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์ SaaS จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งนั่นหมายถึงว่า SaaS จะถูกแทรกซึมเข้าไปในอีกหลายหลายอุตสาหกรรมหรือการใช้งานในบางประเภท เช่น…

  • Identity-Access Management Automation SaaS
  • Artificial intelligence (AI) and Machine Learning (ML)
  • Integrations
  • Blockchain SaaS

ซึ่งจากที่เห็น แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่พวกเราเคยได้ยินและรู้จักกันมานานแล้ว แต่เชื่อได้ว่าการนำ SaaS มาต่อยอดหรือนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีที่พูดไปก็จะสามารถสร้างฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ให้กับผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ได้อีกมากมายทีเดียว

Similar Posts