schema_beginner

ทำเว็บต้องรู้! Structured Data คืออะไร ปรับแล้วอันดับเว็บดีขึ้นได้จริงไหม?

Structured Data คือ การจัดระเบียบข้อมูลบนเว็บไซต์ เพื่อให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google เข้าใจและการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในการจัดวางที่ดีในการทำ Structured Data คือต้องอาศัยการทำ “Schema” เพื่อแสดงผลการค้นหาที่สมบูรณ์มากขึ้น

ซึ่งในบทความนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกันว่า Schema คืออะไร และมีส่วนช่วยในทำให้หน้าเว็บของเราติดอันดับ 1 ได้อย่างไร?

  • Schema Markups มีกี่ประเภท?
  • ขั้นตอนการสร้าง Schema ทำอย่างไร?

Schema คืออะไร สำคัญยังไงกับ SEO?

Schema (อ่านว่า สคีมา) ในการทำ SEO (Search Engine Optimization) หมายถึง การใช้รหัส Markup (โค้ดชุดหนึ่ง) ที่เรียกว่า “Structured Data Markup” หรือ “Schema Markup” เพื่อทำให้ Search Engine อย่าง Google สามารถเข้าใจเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณมากขึ้นว่าจะเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร เป็นประเภทไหน ซึ่งนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปรับแต่ง SEO บนเว็บไซต์ให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

ประเภทของ Schema Markups มีอะไรบ้าง?

ประเภทของ Schema Markup จะมาจากการจัดโครงสร้างข้อมูล (Structured Data) เกี่ยวกับ ผู้คน, สถานที่ และอื่น ๆ บนเว็บทุกประเภท เช่น

ประเภท Schema Markups/ Structured Data Markups:

  • Articles-บทความ                   
  • Events-กิจกรรม
  • Products-สินค้า
  • People-ประชากร
  • Organizations-องค์กร
  • Local Businesses-ธุรกิจในท้องถิ่น
  • Reviews-ความคิดเห็น
  • Recipes-สูตร
  • Medical conditions-เงื่อนไขทางการแพทย์

เมื่อใช้ ข้อมูลประเภท Structured Data ต่าง ๆ ตามด้านบนนี้ ก็จะช่วยให้ Search Engine เข้าใจว่าเว็บไซต์นั้นเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร โดยจะแสดงข้อมูลนั้นออกมาผ่าน Rich Snippets นั่นเอง

(Rich Snippets คืออะไรนะ มีความสำคัญกับการทำ SEO ยังไงบ้าง?)

ตัวอย่างเช่น 

ผลลัพธ์ของหน้าเว็บที่ใช้ Schema Markups ประเภทกิจกรรม (Event) ซึ่งเราสามารถดูวันที่และที่ตั้งของกิจกรรมต่าง ๆ ตามภาพ

หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง คือ Creative Work (งานศิลปะหรือความบันเทิง) หมวดยอดนิยมใน Schema Markups โดยในคลังของ Schema นี้จะรวบรวม ภาพยนตร์ หนังสือ วิดีโอเกม และเพลงในรูปแบบอื่น ๆ เอาไว้ รวมถึงข้อมูลเฉพาะของสิ่งนั้นด้วย 

เช่น ผู้ใช้ค้นหาภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง ก็จะมีรายละเอียดเฉพาะของภาพยนตร์อย่างไร เช่น เรตติ้ง ประเภท และวันที่ในโรงภาพยนตร์ เป็นต้น

โดย Markups เหล่านี้สามารถใช้งานได้ โดยใช้โค้ดภาษาต่าง ๆ รวมถึง RDFa, Microdata และ JSON-LD 

RDFa, Microdata และ JSON-LD คืออะไร?

Schema.org เป็นแหล่งรวบรวมคำศัพท์ที่ใช้ในการทำ Structured Data สำหรับให้เหล่านักพัฒนาเว็บไซต์ใช้อ้างอิงเป็นมาตรฐาน โดยการเขียน Structured Data ด้วยคำศัพท์จาก schema.org มีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ RDFa, Microdata และ JSON-LD 

RDFa

RDFa ย่อมาจาก Resource Descriptive Framework ซึ่งเป็นโค้ดรูปแบบหนึ่งที่สามารถเพิ่มลงในเอกสาร HTML, XHTML และ XML ได้


ลักษณะของ RDFa ประกอบด้วย

  • About– เพื่อระบุข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือรายละเอียดที่อธิบายความเป็นมาของข้อมูล เช่น ชื่อผู้แต่ง, ชื่อเจ้าของผลงาน, ผู้รับผิดชอบ, ปีที่เขียน
  • rel และ rev– การระบุความสัมพันธ์และความสัมพันธ์ย้อนกลับกับทรัพยากรอื่นตามลำดับ
  • src, href, และ resource– การระบุทรัพยากรของพันธมิตร
  • Content– เพื่อแทนที่เนื้อหาขององค์ประกอบเมื่อใช้แอตทริบิวต์
  • Datatype– เพื่อระบุประเภทข้อมูลของข้อความที่ระบุเพื่อใช้กับแอตทริบิวต์
  • Typeof– เพื่อระบุประเภท RDF ของหัวเรื่องหรือทรัพยากรของพันธมิตร

Microdata

Microdata คือ tag เสริมที่เขียนเพิ่มขึ้นมาจากโค้ดเดิมของหน้าเว็บไซต์ที่เราใช้อยู่แล้วเพื่อเป็นการติด tag บอก search engine ว่าโค้ดที่เราเขียนบนหน้าเว็บไซต์ตรงนี้หมายถึงอะไร

การนำ Microdata ไปใช้งานนั้นคล้ายกับ RDFa และมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

  • itemscope  — เพื่อสร้างรายการและระบุว่าส่วนที่เหลือขององค์ประกอบมีข้อมูลเกี่ยวกับมัน
  • itemtype  — เพื่ออธิบายรายการและคุณสมบัติด้วย URL คำศัพท์ที่ถูกต้อง (เช่น “ https://schema.org ”)
  • itemprop  — เพื่อระบุว่าแท็กที่มีมีค่าของคุณสมบัติรายการที่ระบุ (เช่น itemprop=”name”)
  • itemid  — เพื่อระบุตัวระบุเฉพาะของ itemitemref  — เพื่ออ้างอิงคุณสมบัติขององค์ประกอบที่ไม่มีอยู่ใน itemscope ซึ่งจะแสดงรายการรหัสองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมที่อื่นในเอกสาร

การเชื่อมโยง Object ด้วย JSON-LD

JSON ย่อมาจาก JavaScript Object Notation คือ รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของ JavaScript จัดเก็บในลักษณะ JSON Object ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคือ Standard format อย่างหนึ่งที่เป็น text และสามารถอ่านออกได้ด้วยตาเปล่า ใช้ในการสร้าง object ขึ้นมาเพื่อส่งข้อมูลระหว่าง Application

โดยการจัดเก็บข้อมูลหรือเชื่อมโยง Object ด้วย JSON นั้นสามารถทำได้โดยการใช้คำศัพท์จาก Schema วางได้เลยตรงแท็ก <head> หรือ <body> ของ web document และใช้แอตทริบิวต์ “@context” และ “@type” เพื่อระบุคำศัพท์ (schema.org)

เนื่องจากสามารถวางลงในแท็ก <head> ได้โดยตรง JSON-LD จึงถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการนำสคีมาสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานนั่นเอง

ต่อไปนี้ คือตัวอย่างของการเชื่อมโยง Object ด้วยคำศัพท์จาก schema โดยใช้วิธี JSON จาก Google ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร

อีกหนึ่งตัวอย่างลักษณะของการจัด Structured Data Markups ประเภทหนังสือ บนหน้าเว็บโดยใช้ microdata

  • ไม่มี Markups
  • มี Markups ของ microdata

ตัวอย่างเดียวกันใน JSON-LD

วิธีสร้าง Schema ของเราเอง สำหรับ HTML

การสร้าง Schema สำหรับ HTML นั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยให้ง่ายต่อการสร้างและใช้งานสคีมาใน JSON-LD หรือ Microdata บนหน้าที่มีเว็บไซต์ของเราอยู่

สิ่งที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องทำ คือ เน้นองค์ประกอบบนหน้าเว็บของตนเองที่ต้องการติด tag ตามนั้น จากนั้นกดสร้าง HTML แล้วโค้ดจะถูกสร้างขึ้น (โดยให้เลือก JSON-LD หรือ Microdata) เพื่อให้วางบนไซต์ของคุณ 

จากภาพตัวอย่างด้านล่าง เราจะเห็นสคริปต์ของ JSON-LD ที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถคัดลอกและวางลงในโค้ดของบทความนี้เพื่อทำเครื่องหมายองค์ประกอบที่สำคัญได้

เครื่องมือที่ช่วยสร้าง Schema สำหรับ HTML ให้ง่ายขึ้น

เมื่อเราคิดว่าพร้อมที่จะสร้าง schema สำหรับ HTML ก็มาทำความรู้จักกับเครื่องมือต่าง ๆ ต่อไปนี้ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นกันดีกว่า

1. Hall Analysis Schema Markup Generator

ช่วยให้เราสามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจในท้องถิ่น บุคคล ผลิตภัณฑ์ เหตุการณ์ องค์กร หรือเว็บไซต์เพื่อสร้างโค้ด JSON-LD สำหรับวางลงใน HTML ของเว็บไซต์ของเรา ตัวสร้างนี้เรียบง่ายและใช้งานสะดวกไม่ยุ่งยาก เหมาะกับเว็บไซต์ทุกประเภท

2. Google Structured Data Markup Helper

เป็นเครื่องมือของ Google ที่ช่วยในการจัดตั้ง Structured Data ให้ง่ายขึ้น และช่วยให้เราสามารถเลือกแล้วติดป้ายกำกับแต่ละรายการบนหน้าเว็บที่ต้องการ Markups ได้อีกด้วย

3. Microdata Generator.com 

อีกหนึ่งเครื่องมือง่าย ๆ ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับธุรกิจในท้องถิ่น เหมาะสำหรับผู้ที่ทำ SEO Local business

(ใครว่าทำ Local Business แล้วได้กำไรน้อย ไม่จริง! คุณทำให้ธุรกิจปังได้ แค่รู้จักการทำ Data Driven Marketing)

4. Merkle Schema Markup Generator 

เป็นเครื่องมือที่สามารถ Export Structured Database ในรูปแบบ JSON-LD หรือ microdata ได้อย่างยอดเยี่ยม

การทดสอบ Schema ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ 

หากเราต้องการตรวจสอบว่า Schema Markups ที่ทำมาถูกต้องหรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบได้จาก Structured Data Testing Tool ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ทดสอบ Schema นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ในการรวมไซต์และแจ้งเตือนเราเกี่ยวกับการใช้ภาษา markups ผิดวิธีอีกด้วย

“Google’s Structured Data Testing Tool” เครื่องมือตรวจสอบ Schema

Google Structured Data Testing Tool เป็นตัวช่วยสำคัญหลังจากที่เพิ่มสคีมาลงใน HTML แล้ว เรายังสามารถทดสอบมาร์กอัปด้วย เครื่องมือทดสอบStructured Data ของ Google เพียงลากและวางหน้าเว็บหรือบรรทัดโค้ดเพื่อทดสอบข้อผิดพลาดได้

ทำไม Schema.org สำคัญกับ Structured Data และ Semantic search?

เนื่องจากจุดรวมของการทำ Structured Data คือการสื่อสารกับเครื่องมือค้นหาอย่าง Google ได้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อ Google เข้าใจเอนทิตีในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแก่ผู้ใช้ด้วย

ซึ่งการมีของ Schema.org จะทำให้ SERP ปรากฏข้อมูลที่มีโครงสร้างและรายละเอียดต่าง ๆ แบบเฉพาะเจาะจง เปรียบเสมือนสารบัญที่คอยช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาบนไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น

Schema ช่วย Google ได้อย่างไร?

วิธีคิดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ในขณะที่เนื้อหาของเราบอก Google ว่ามีอะไรอยู่ในเว็บไซต์ ตัว Schema ก็จะช่วยบอก Google ว่าเนื้อหาในไซต์ของเราหมายถึงอะไร 

เนื่องจากภาษา Markups ทำหน้าที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดและเอนทิตีใน document หรือเว็บเพจนั่นเอง 

Schema ทำให้เว็บไซต์ของเราอันดับดีขึ้นหรือไม่?

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่นักทำ SEO มักจะสงสัยอยู่เสมอ และคำตอบสั้น ๆ ในกรณีนี้ คือ “ใช่” แต่ Search Engine Journal สรุปไว้เมื่อปลายปี 2019 ว่ายังไม่มีหลักฐานว่า Microdata มีผลกระทบโดยตรงต่อการจัดอันดับการค้นหาแบบออร์แกนิก

อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่า Microdata จะไม่มีผลกระทบต่อการมองเห็น 

ตัวอย่างข้อมูลสื่อสมบูรณ์ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีการมองเห็นเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยบนหน้าผลลัพธ์ และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยให้มีอัตราการคลิกเข้าชมเว็บไซต์

ดังนั้น แม้ว่าเจ้าของเว็บไซต์อาจไม่เห็นการเพิ่มขึ้นโดยตรงในการจัดอันดับทั่วไปของหน้าเว็บอันเป็นผลมาจากการเพิ่ม Schema แต่ก็ได้เห็นการเข้าชมจากการค้นหามากขึ้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เจ้าของไซต์กำลังมองหานั่นเอง

ประโยชน์ของ Structured Data

Google ระบุว่าข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data) ที่เหมาะสม สามารถปรับปรุงลักษณะที่ปรากฏในผลการค้นหาได้ เช่น การรีวิวที่มีโครงสร้างชัดเจน Google จะสามารถแสดงสูตรหรือเมนูอาหารที่ถูกรีวิวหรือที่มีการให้คะแนน 5 ดาวมากที่สุดทางด้านบน Page Result ทันทีนั่นเอง

Structured Data Examples

หรือ ด้วย Structured Data ที่เกี่ยวกับเพลงและอัลบั้ม Google สามารถแสดงเพลงที่ศิลปินร้องเป็นรูปแบบของ Rich Card

อย่างไรก็ตาม Structured Data ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อการแสดงข้อมูลบนหน้า Search Result เท่านั้นแต่ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันด้วยว่ามันสามารถทำให้เว็บไซต์ของเราถูกผู้ใช้หาเจอ ไม่ว่ารูปแบบเทคโนโลยีของ Search Engine จะมีพัฒนาการในอนาคตไปในทางใดก็ตาม

โดย Search Engine Roundtable อธิบายว่าอุปกรณ์ที่สั่งงานด้วยเสียง เช่น Google Assistant อาศัย Structured Data เป็นหลักในการระบุและเรียกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อความค้นหาที่พูด

ซึ่งในการศึกษาการค้นหาด้วยเสียงในปี 2019 พบว่าคำตอบส่วนใหญ่ที่ให้บริการผ่านการค้นหาด้วยเสียงถูกทำเครื่องหมายด้วย Schema บางรูปแบบ

อย่างไรก็ตาม สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่ายิ่ง Markups มีโครงสร้างที่ชัดเจนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น ซึ่งการใช้ประโยชน์จากแนวโน้มนี้โดยการใช้ Structured Data เรียกว่า “Semantic SEO” นั่นเอง

Semantic SEO คืออะไร?

Semantic หมายถึง การศึกษาความหมายของคำและวลี

ดังนั้น Semantic Search จึงหมายถึงกระบวนการในการค้นหาเว็บ โดยยึดตามความหมาย (และความสัมพันธ์) ของคำและวลีในข้อความค้นหา

“การค้นหาเชิงความหมาย” หรือ “ SEO เชิงความหมาย” เป็นคำที่ผู้คนใช้พูดถึงการเพิ่มประสิทธิภาพหน้าสำหรับการค้นหาโดยครอบคลุมหัวข้อทั้งหมดอย่างครบถ้วน แทนที่จะเป็นเพียงคำหลักเพียงคำเดียว  ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่เจาะลึกมากขึ้น โดยเน้นที่ภาพใหญ่และความหมายเบื้องหลังช่วยให้ผู้คนเข้าใจแนวคิดอย่างแท้จริง และ Google ชอบสไตล์นั้นมากกว่าโพสต์บล็อกที่สั้นลงโดยเน้นที่คำหลักคำเดียว

Structured Data และ Schema มีความสำคัญต่อ Semantic SEO อย่างไร?

การเพิ่ม Structured Data ให้กับเนื้อหาของไซต์ที่มีความยาวจะทำให้เครื่องมือค้นหามีการทำงานอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้ Google เข้าใจในแนวคิดของการทำเนื้อหาบนไซต์นั้นมากขึ้น

ยิ่งหาก Google สามารถดำเนินการในระดับความหมายได้มากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถสื่อสารกับผู้ค้นหาได้อย่างสมเหตุสมผลมากขึ้นเท่านั้น และยังคงทำให้ประสบการณ์การใช้เว็บมีความคล่องตัวมากขึ้นสำหรับผู้ใช้, เวลาในการโหลดที่เร็วขึ้น, คำตอบที่ทันใจมากขึ้น, คำแนะนำที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่ง Search Engine จะชอบแสดงเนื้อหาที่ให้ความเข้าใจในระดับที่สูงขึ้นไปอีก

(อยากเพิ่ม Organic Traffic แบบได้ผลจริงต้องอ่าน: วิธีเพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ มีวิธีไหนบ้าง?)

Semantic Web, E-A-T และ YMYL สัมพันธ์กันอย่างไร

หากเว็บไซต์ของคุณมีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง “การเงิน” ของเหล่า User เช่น เว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง เช่น ข้อมูลทางการแพทย์ คำแนะนำ ความรู้ ฯลฯ แล้วล่ะก็ ต้องบอกเลยว่าหลัก E-A-T และ YMYL นั้นสำคัญกับ Semantic Web อย่างมาก

E-A-T ย่อมาจากอะไร

  • E: Expertise (ความเชี่ยวชาญ)
  • A: Authority (ความน่าเชื่อถือ)
  • T: Trustworthiness (ความไว้ใจได้)

คุณสมบัติ 3 ประการที่ Google ระบุไว้ใน Google’s SEO Guideline เองว่ามีความสำคัญมากกว่าที่เคยเกณฑ์ที่เคยมีมาโดยเฉพาะกับ…

YMYL ย่อมาจาก “your money or your life” ซึ่งเป็นหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้ ดังนั้นทั้งคุณภาพด้านเนื้อหาและเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ รวมไปถึงการนำเสนอเนื้อหาแบบมีโครงสร้าง (Semantic Web) จึงสำคัญมากและควรมีความสัมพันธ์กันด้านข้อมูล

ทั้งนี้ Google ยังได้ระบุไว้อีกว่าหลัก E-A-T ไม่เพียงพอที่เป็นตัวบ่งชี้ที่คุณภาพของเนื้อหาหน้าเว็บอีกต่อไป ดังนั้น ในประเด็นความมีคุณภาพของเนื้อหานี้จึงควรเป็นความรับผิดชอบของนักทำ SEO และเจ้าของเว็บไซต์ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงนี้โดยการใช้ข้อมูลที่มีโครงสร้างที่ถูกต้องบนเว็บไซต์ของตนเองจะดีที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Google แนะนำให้เพิ่ม Markups ของ Structured Data ใน 2 ประเภท คือ

  • รายการเนื้อหา เช่น บทความ สูตรอาหาร หรือภาพยนตร์
  • รายการสิ่งของ เช่น สูตรอาหาร และกิจกรรม

ท้ายที่สุด ประโยคของ Damian Thompson ที่ได้กล่าวไว้ว่า 

“Google ไม่ใช่แค่การค้นหาข้อมูลอีกต่อไป แต่ยังเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ให้เป็นกระแสข้อมูลที่สอดคล้องกัน หัวข้อ, ธีม, ความคิด, ข้อความ, วิดีโอ, เสียง ทั้งหมดเชื่อมต่อและสอดคล้องกัน” ยังคงเป็นสิ่งที่แนะนำนักทำ SEO ได้ดีเสมอ 

สิ่งสำคัญ คือ เราต้องไม่ลืมว่านอกจากคุณภาพของหนังสือไม่ได้วัดจากเนื้อหาพียงเท่านั้น แต่การจัด  “สารบัญ” ให้มีโครงสร้างที่ชัดเจนก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะมันจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดของผู้เขียนได้เร็วมากขึ้นนั่นเอง

ดังนั้น ไม่ว่าผู้อ่านเว็บไซต์ของเราจะเป็น Google หรือ User นักทำ SEO ต้องเอาใจใส่ในเรื่องของ Structured Data และ Schema ให้ชัดเจนด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของเว็บไซต์ของเรานั่นเอง

(นอกจากเรื่องโครงสร้างของข้อมูลแล้ว คุณต้องไม่พลาดเรื่องนี้: 20 เรื่องโกหกของ SEO ที่จะทำให้คุณตาสว่าง)

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

Semi-structured data ตัวอย่าง มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยมาก ๆ เช่น อีเมลองค์กรมักมีโครงสร้างที่คงที่ เช่น หัวข้ออีเมล ผู้ส่ง วันที่ และเนื้อหา แต่โครงสร้างนี้อาจมีส่วนของเนื้อหาที่ไม่แน่นอน เช่น ลายเซ็นอีเมลหรือรูปภาพที่แนบมา

ตัวอย่างที่ดีที่สุดของ Structured data คืออะไร

ตัวอย่างการใช้ Schema markup ช่วยในการแสดงรีวิวและคะแนนสินค้าหรือบริการของคุณในผลการค้นหา ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพในการสร้างซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ใช้ได้

Semi-structured data คืออะไร

Semi-structured data (ข้อมูลรูปแบบครึ่งโครงสร้าง) คือ ข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่เต็มรูปแบบและคงที่เหมือนข้อมูลโครงสร้าง (structured data) แต่มีความโครงสร้างบางส่วนและสามารถจัดระเบียบได้ในระดับหนึ่ง

structured data กับ unstructured ต่างกันอย่างไร

– Structured data คือข้อมูลที่มีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจน เช่น ฐานข้อมูล, ตาราง Excel หรือ JSON ซึ่งสามารถค้นหาและวิเคราะห์ได้ง่าย
– Unstructured data คือข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างหรือรูปแบบที่แน่นอน เช่น ข้อความในเอกสาร Word, อีเมล, ภาพ, และวิดีโอ ซึ่งต้องมีการประมวลผลเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจและนำข้อมูลไปใช้งานได้

Similar Posts