20-lies-story

จับโป๊ะ 20 เรื่องโกหกของ SEO ที่จะทำให้คุณตาสว่าง

เป็นที่ทราบกันดีว่าในการทำ SEO นั้น การถูกจัดอันดับจาก Google ให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะถือเป็นผลและเป้าประสงค์ที่หลาย ๆ คนคาดหวังจากการทำ SEO นั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม กว่าจะถึงขั้นที่เว็บไซต์หรือเนื้อหาของเราถูก Ranking ได้นั้น มันก็จะต้องมีปัจจัยและเทคนิคหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เว็บไซต์ของเราถูกจัดอันดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่วายมีเรื่องหลอกให้เราหลงระหว่างทางได้อยู่เสมอ 

  • เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับSEO มีอะไรบ้าง?
  • ปัจจัยที่ทำให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับต้นๆ คืออะไร?

เรื่องโกหก 20 เรื่องของการทำ SEO 

ในหลายๆ ครั้งที่นักทำ SEO สามารถสร้างเนื้อหาให้ออกมาตรงตามสเปคของ SEO ทุกอย่าง แต่ก็มีหลาย ๆ คนเช่นกันที่อาจจะยังไม่สามารถต่อยอดให้เว็บไซต์หรือเนื้อหานั้นๆ ตรงตามสเปค Google และถูกจัดอันดับให้อยู่ในตำแหน่งที่สูงๆ ได้ ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะคุณยังไม่รู้ว่าวงการนี้ยังมีหลายๆ เรื่องที่คุณอาจเข้าใจผิดอยู่นั่นเอง ซึ่งจะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น ตามไปดูพร้อมๆ กัน

1. ทฤษฎี The Google Sandbox

เป็นทฤษฎีที่หลาย ๆ คนเชื่อและส่งต่อกันอย่างผิด ๆ ว่า The Google Sandbox นั้น เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ Google จะระงับการเข้าตรวจหรือ Index เว็บไซต์ที่มีโดเมนน้อย หรือ เว็บไซต์ใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลต่อการจัดอันดับ โดยระยะเวลาของ Google Sandbox จะเกิดขึ้นช่วงหนึ่งตั้งแต่สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และไม่มีทางที่จะหนีช่วงเวลานี้ได้ ซึ่งปัจจุบัน Google ได้ออกมาปฏิเสธการมีอยู่ของ Google sandbox อย่างเป็นทางการแล้ว แต่หลาย ๆ คนยังคงเชื่ออยู่ว่ามีจริงจากการทดลองของตนเอง ซึ่งก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องหาข้อมูลและพิสูจน์กันต่อไป

2.บทลงโทษจากการ Duplicate Content

แม้จะเป็นผลที่เกิดมาจากการ Take action ของเจ้าของต้นฉบับที่ทำการยื่นเรื่องไปยัง Google แต่ต้องบอกก่อนเลยว่า Google นั้นจะให้บทลงโทษที่ค่อนข้างหนักพอสมควร หลาย ๆ คนอาจคิดว่าการ Duplicate Content จากแหล่งอื่น ๆ ต้องรอให้ Google ปรับอัลกอริทึมหรือตรวจมาเจอเองจึงจะมีผล แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งเบื้องต้นเมื่อมี Manual Action จากเจ้าของต้นฉบับไปยัง Google แล้ว หน้าเนื้อหาของคุณจะต้องถูกลดอันดับลงหรือที่หนักกว่านั้นก็คือถูกแบนจากหน้า SERP ไปเลยก็เป็นได้

3. PPC ก็มีส่วนช่วยในการจัดอันดับ?

ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอยู่มากว่า PPC (Pay Per Click) หรือการจ่ายเงินเพื่อให้ได้ยอดคลิกเข้าชมเว็บไซต์นั้นจะมีผลต่อการจัดอันดับ เพราะความจริงคือ Google จะแยกการจัดอันดับจาก Organic Traffic ไว้อีกส่วนหนึ่ง ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า Google ชอบเว็บไซต์ที่จ่ายเงินเพื่อยอดคลิกจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งนี้ PPC แม้จะซื้อยอดคลิกได้ แต่ก็จะซื้อได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น และท้ายที่สุด หากเนื้อหาไม่มีคุณภาพ อันดับก็จะตกลงไปโดยธรรมชาติอยู่ดี

4.อายุโดเมน…ยิ่งแก่ยิ่งดี?

จะกล่าวเช่นนั้นคงไม่เชิงนัก เพราะแท้จริงแล้วอายุของโดเมนไม่ได้ส่งผลต่อ Google Ranking โดยตรง แต่อาจเป็นเพราะเว็บไซต์ที่มีอายุโดเมนมากกว่า จะมีเวลาเตรียมตัวและได้รับประสบการณ์บางอย่างมาเยอะกว่า เช่น เว็บไซต์ที่มีอายุโดเมน 5 ปี อาจมี Backlink ธรรมชาติที่มากกว่าเว็บไซต์ใหม่ ๆ ดังนั้นจึงสร้างความน่าเชื่อถือในสายตา Google ได้และถูก Rank อันดับตามไปด้วย เป็นต้น

5. Tabbed Content ก็ส่งผลต่ออันดับ?

เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจยังไม่คุ้นชินกับคำว่า Tabbed Content แต่ถ้าหากอธิบายว่ามันคือ การทำเนื้อหาเชิงการซ่อนเนื้อหาส่วนใหญ่เอาไว้ก่อน และจะเปิดเผยเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อ User กดคลิก ยกตัวอย่างเช่น “อ่านต่อ” เป็นต้น ซึ่งนั่นำให้มันมีลักษณะที่หน้าแรกมีเนื้อหาน้อยนั่นเอง อย่างไรก็ตามนักทำ SEO หลายคนกังวลว่าการทำ Content เชิงนี้ทำให้ Google ไม่สามารถ Crawl ได้ ส่งผลให้ไม่ Index และ Ranking ตามลำดับ แต่ความจริงแล้ว Tabbed Content ไม่มีผลต่อการจัดอันดับของ Google เพราะเป็นความโชคดีที่ Bot ของมันมีความเข้าใจและสามารถตรวจสอบได้ตามปกติ

6.Google Alnalytic มีผลต่อ Google Ranking?

เป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจหรือนักทำ SEO หลายคนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลาย ๆ คนมักจะให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ Google Alnaytic รายงาน ซึ่งแท้จริงแล้วแม้มันจะสามารถบอกข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเราได้บางส่วน แต่ก็ไม่ได้หมายความวามันจะส่งผลกับการ Ranking เสมอไป เพราะคำว่า “คุณภาพของเว็บไซต์” ไม่สามารถ Assume ได้อย่างตรงตัว เช่น บางเว็บไซต์ที่มี Time on page ที่สูง อาจไม่ได้หมายความว่าหน้าเนื้อหามี Content ที่ดีเสมอ แต่อาจเป็นเพราะมีเนื้อหาที่ยืดยาว และมีรูปประกอบบทความที่มีลักษณะแนวตั้ง/ยาว จนทำให้ User เลื่อนจนจบ ซึ่งนั่นถือเป็นเทคนิค ไม่ใช่การบ่งบอกถึงคุณภาพของเว็บไซต์นั้น ๆ เป็นต้น 

7.Google ให้ความสำคัญกับ DA เสมอ?

Domain Authority หรือ PageRank เป็นคะแนนที่ Google ทำการคิดคำนวณให้แต่ละเว็บไซต์ว่ามีคะแนนเท่าไหร่ รวมถึงจำนวน Backlink ให้ด้วย (ในหลาย ๆ Third-party) ซึ่ง Google ได้หยุดอัปเดต PageRank ที่แสดงใน Third-party ต่าง ๆ ของปี 2013 และในปี 2016 Google ยืนยันว่าเมตริกต่าง ๆ ของ PageRank

จะไม่ได้ใช้ต่อไป นั่นจึงพออนุมานได้ว่า แม้ Google จะยังคงกำหนด Value ของแต่ละเว็บไซต์อยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้ความสำคัญกับมันเสมอไปจนนำมาเป็นปัจจัยในการจัดอันดับ

8.เนื้อหายาว ๆ ย่อมดีกว่า?

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินมาว่า ความ SEO ที่มีความยาวมากกว่า ย่อมถูกจัดอันดับให้อยู่ในตำแหน่งที่สงกว่าได้ แต่ความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะจากที่ำด้กล่าวไปในข้างต้น การที่มีเนื้อหายาวไม่ได้หมายความว่าบทความมีคุณภาพเสมอไป เนื่องจาก Google มักจะวัดผล Performance จากการใช้งานของ User เสมอว่ามีปฏิกริยาอย่างไรกับเนื้อหาบทความในหน้านั้น ๆ ซึ่แม้จะมีเนื้อหาที่ยาว แต่ไม่มีประโยน์กับ User เลย การถูก Rank ขึ้นไปอยู่อันดับสูง ๆ ก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน

9. LSI Keyword ช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น?

LSI หรือ Latent Semantic Indexing คือ คำที่เกี่ยวข้องกับ Keyword หลัก ไม่ใช่คำพ้องความหมาย  แต่เป็นคำที่จะนำมาใช้ในการอธิบายบริบทและสิ่งที่คอนเทนต์บนหน้าเพจนั้นๆ ซึ่งนักทำ SEO หลายคนเชื่อว่ามันทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นและถูกจัดอันดับได้เร็วขึ้นตามไป แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะความสามารถในการอ่านของ Google ไปไกลกว่า LSI มากแล้ว ความเชื่อนี้จึงตกไป

10. SEO เห็นผลใน 3 เดือน?

ไม่เป็นความจริง เพราะเวลาที่แท้จริงอาจมากกว่านั้น โดยทั่วไป SEO เป็นการตลาดที่ต้องใช้เวลา ซึ่งนักทำ SEO หลาย ๆ คนใช้ระยะเวลาประมาณนี้ในการการันตีผลงานกับลูกค้าอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งความจริงอาจเป็นไปได้หากคู่แข่งทางการตลาดของลูกค้าของคุณมีการแข่งขันที่ต่ำ แต่เราก็ไม่สามารถทราบได้เลยว่าในช่วงระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ดังนั้น SEO เห็นผล 3 เดือนอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนัก

11. Bounce Rate อีกหนึ่งปัจจัยของการ Ranking?

Bounce Rate หรือ อัตราตีกลับ คือ ที่เกิดขึ้นจากยอดของการมีผู้ใช้งานเข้ามาในเว็บไซต์ของคุณแล้วกดออก โดยไม่มีการกดปุ่ม Action หรือปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ซึ่งหลายคนเชื่อว่ามันคือปัจจัยในการจัดอันดับแต่แท้จริงแล้วมันไม่ได้มีคุณภาพมากพอขนาดที่ Google จะนำไปเป็นปัจจัยช่วยได้ เพราะมีหลายสาเหตุที่ผู้เยี่ยมชมอาจเข้ามาที่หน้าเว็บและออกอีกครั้งโดยไม่โต้ตอบกับเว็บไซต์เพิ่มเติม แต่อาจกดออกไปเพื่อโทรทำการนัดหมายเองก็เป็นได้ ดังนั้น Bounce Rate ก็อาจไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญขนาดนั้น

12.Backlink คือทุกสิ่ง?

เมื่อเร็ว ๆ นี้ John Mueller จาก Google กล่าวว่า “ลิงก์ไม่ใช่ลิงก์ปัจจัย SEO ที่สำคัญที่สุด” เพราะลิงก์ที่ดีต้องมาจากเนื้อหาที่ดีด้วย เนื่องจาก Google นั้นมักเปลี่ยนอัลกอริทึมอยู่เสมอและจะเล็งเรื่อง Backlink เป็นพิเศษ ดังนั้น หากลิงก์มาจากเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพที่ดี การอาจไม่ได้ช่วยเรื่องการจัดอันดับเสมอไป

13. Main Keyword ใน URL จำเป็นมาก?

Google ได้กล่าวหลายครั้งว่าคำหลักใน URL คือสิ่งที่ส่งผลต่อการจัดอันดับเล็กน้อยและเบามาก ทั้งนี้ หากตั้งใจใส่มันเข้าไปมากเกินไปอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งนี้ อาจส่งผลต่อการ Redirect URL ในอนาคตอีกด้วย 

14. การย้ายเว็บไซต์ต้องมาคู่กับการ Redirect?

ในความเป็นจริงแล้ว การโยกย้ายเว็บไซต์เป็นหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดและขั้นตอนที่ซับซ้อนในการทำ SEO

เพราะมันสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบ, CMS, โดเมน และ / หรือเนื้อหาได้ทั้งหมดนั่นเอง อย่างไรก็ตาม แม้การย้ายเว็บไซต์หรือ Redirect จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด Traffic และการทำงานของ Google ได้ง่ายขึ้นจนทำให้มีการจัดอันดับที่ดีขึ้น แตต้องพึงตระหนักไว้เสมอว่า ในช่วงการย้ายจะไม่มีอะไรตกหล่น โดยเฉพาะคำหลักในแต่ละหน้าเนื้อหาที่อาจเกิดการสูญหายได้

15.เว็บไซต์ใหญ่ ๆ ไต่อันดับง่ายกว่าเว็บไซต์เล็ก ๆ เสมอ?

ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า Google ชอบเว็บไซต์ใหญ่ ๆ และมัก Rank ให้เว็บไซต์เหล่านี้อยู่ในอันดับที่ดีเสมอ ซึ่งแท้จริงแล้ว เราต่างทราบกันดีว่าเว็บไซต์ใหญ่ ๆ จะมีอำนาจการต่อรองในคำหลักที่มี SV สูง ๆ หรือเป็นคำกว้าง ๆ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะถูกจัดอันดับให้อยู่ตำแหน่งสูง ๆ แต่ก็ใช่ว่่าเว็บไซต์เล็ก ๆ จะชนะเว็บไซต์ใหญ่ไม่ได้ สิ่งที่ควรทำคือ เว็บไซต์เล็ก ๆ ควรเน้น Related Keyword มากกว่า (ในกรณีที่เป็นคู่แข่งในวงการเดียวกัน) ซึ่งจะช่วยให้ติดอันดับได้ดีขึ้น

16. “ใกล้ฉัน”

มุก “ใกล้ฉัน” ไม่ได้ใช้แล้วได้ผลเสมอไป ซึ่งน่าจะเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเมื่อมีคำว่า ใกล้ฉัน มักจะเป็นการใช้กับธุรกิจเล็ก ๆ ตามท้องถิ่น ซึ่ง Google นั้นมักจะแสดงผลชื่อ / ที่อยู่ของธุรกิจนั้น ๆ มากกว่า เช่น  Pizza, Near me กับ Pizza Manhatton มากกว่าเพื่อเป็นการกรุ๊ปให้กับ User ดังนั้น คำว่า ใกล้ฉัน จึงไม่ใช่สิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้เสมอไป

17. เนื้อหาที่ดี = อันดับที่ดี?

เป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนพบเจอที่ว่า “ทำไมคู่แข่งของเรามีอันดับสูงกว่า ทั้ง ๆ ที่เนื้อหาของเราทำได้ดีกว่ามาก” แต่จากที่ได้กล่าวไป การ Assume เรื่องคุณภาพของเนื้อหาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะ Google เองจะมองว่าเว็บไซต์ไหนมีคุณภาพนั้น มักจะตัดสิน Performance ของเว็บไซต์นั้น ๆ เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การมีเนื้อหายาวไม่ได้หมายความว่านั่นคือเนื้อหาที่มีคุณภาพ แต่การทำให้เนื้อหาสั้นลงและกระชับเหมาะกับการอ่านอาจเป็นวิธีที่ทำให้มันมีคุณภาพก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นในประเด็นนี้ นักทำ SEO จึงควรเข้าใจธรรมชาติในการทำงานของ Google ให้มาก ๆ จะดีที่สุด

18. โพสต์เนื้อหาทุกวันนั้นดี?

ไม่จำเป็น เพราะแต่ละเว็บไซต์มีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไป บางเว็บไซต์จำเป็นต้องลงทีเดียวเพื่อกระตุ้นการตรวจของ Google Bot บางเว็บไซต์ต้องแบ่งการโพสต์ออกเป็นรายสัปดาห์ เป็นต้น ซึ่งการโพสต์เนื้อหาใหม่ทุกวันไม่ได้หมายความว่ามันจะถูกจัดอันดับให้ดีกว่าเนื้อหาเก่าเสมอ ดังนั้น จะเป็นการดีกว่าที่นักทำ SEO จะค่อย ๆ ใช้วิจารณญาณในการเขียนและแบ่งไอเดียเอาไว้ทำอย่างสม่ำเสมอ ดีกว่าโพสต์เนื้อหาทุกวันซึ่งไม่เหมาะกับอัลกอริทึมของ Google

19.Optimize ครั้งเดียวแล้วจบ?

หลายคนคิดว่าเขียนเนื้อหาครั้งเดียวและปรับแต่งเนื้อหานั้น ๆ รั้งเดียวก็จบ แต่แท้จริงแล้วในการทำ SEO เพื่อรักษาระดับให้ดีนั้น จำเป็นต้องมีการปรับแต่งอยู่ตลอดเวลา โดยมีการทดสอบแล้วว่า Google มักเลือกหน้าเนื้อหาที่มีการปรับแต่งหรือ Active ล่าสุดขึ้นมาเสมอ ดังนั้น ควร Optimize บทความตลอด ๆ 

20. มีวิธีการไต่อันดับ SEO ที่เป็นแบบแผนและตายตัว?

ความเชื่อนี้ผิดมหันต์ เพราะแม้สิ่งที่คุณรู้มาอาจเป้นวิธีแก้ที่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับเว็บไซต์นี้ได้ แต่ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ที่มีปัญหาเหมือนกันอาจใช้วิธีแก้เดียวกันไม่ได้ผล คำตอบก็คือ ทุก ๆ อย่างต้องผ่านการลองผิดลองถูกและปรับให้เข้ากับแต่ละเว็บไซต์ การใช้วิธีแก้แบบเดียวกันอาจเพิ่มอันดับให้อีกเว็บไซต์หนึ่ง แต่อีกเว็บไซต์หนึ่งอาจจะไม่ก็ได้ ดังนั้น อย่ายึดติดกรอบเดิม ๆ แต่เน้นปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม

Similar Posts