ทำความรู้จัก วิธีค้นหา Main Keyword ที่ใช่ พร้อมเครื่องมือและเคล็ดลับที่นัก SEO มือใหม่ไม่ควรพลาด
เป็นที่ทราบกันดีว่าในการทำ SEO นั้น สิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ๆ ทั้งในเรื่องของการกำหนดแนวทางในการเรียบเรียงเนื้อหาและทิศทางของยอด Organic Traffic นั่นก็คือการหา Main Keyword และ Keyword ในกลุ่มอื่น ๆ เพื่อทำให้เนื้อหานั้น ๆ ของเรามีประสิทธิภาพต่อ Search Engine นั่นเอง ซึ่งในบทความนี้ Funnel จะมานำเสนอเครื่องมือที่จะเป็นตัวช่วยในการค้นหา Keyword และเคล็ดลับการค้นหาที่จะทำให้การทำ SEO ของหลาย ๆ คนง่ายมากขึ้น ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นตามมาดูไปพร้อม ๆ กัน
ทำไมทำ SEO ต้องค้นหาและใช้ Keyword ให้เป็น ?
เพราะการรู้วิธีค้นหา Main Keyword อย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติ SEO อย่างต่อเนื่องที่ทุกเว็บไซต์ต้องการ แล้วทำไมต้องเป็นเช่นนั้น? ตามมาดูเหตุผลไปพร้อม ๆ กัน
จะเห็นได้จากรูป Circle Share ด้านบนที่จะเห็นได้ว่าประมาณ 90.63% ของหน้าเว็บบน Google นั้นมักมีการเข้าชมแบบออร์แกนิก (Organic Traffic) เป็น 0 และบางหน้าเว็บที่ถึงแม้จะมียอดเข้าชม แต่ก็มีเพียงแค่ 5.9% เท่านั้น หรือหมายถึงเว็บไซต์ดังกล่าวได้รับการเข้าชมเพียง 1 ถึง 10 ครั้งต่อเดือนหรือน้อยกว่า
ซึ่งเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนักทำ SEO มือใหม่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่สามารถเลือกใช้ Keyword ที่จะสามารถดึงดูด User บน Google ได้มากพอ เพราะจากที่กล่าวไปในข้างต้นว่า Keyword ไม่ได้มีความสำคัญแค่เพียงกำหนดทิศทางการเรียบเรียงเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยที่สร้างยอดเข้าชมได้เป็ฯอย่างดีอีกด้วย ซึ่งถ้าหากเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องก็จะสามารถสร้างยอด Traffic ได้อย่างมหาศาล
ความท้าทายอย่างหนึ่งที่นักทำ SEO ส่วนใหญ่ต้องเผชิญ คือ การไม่มีกลยุทธ์ในการใช้ Keyword ที่ตรงตามความต้องการและความอยากรู้ของ User โดยเฉพาะในกลุ่มนักทำ SEO ที่มีอุตสาหกรรมเฉพาะของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งดีที่ในบทความนี้เราจะเน้นไปที่การเรียนรู้วิธีค้นหา Keyword อย่างมีประสิทธิภาพกัน
โดยก่อนที่เราจะพูดถึงวิธีค้นหา Keyword ต่าง ๆ เรามาทำความรู้จักกับเหล่า Keyword กันก่อนว่ามันคืออะไรและมีบทบาทอย่างไรในการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ของเราได้ยังไงบ้าง
Keyword คืออะไร ?
Keyword คือคำหรือวลีที่คนใช้ค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการบน Search Engine (Google) ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ ปัญหา หรือความต้องการอื่นๆ เมื่อมีคนเสิร์ชอะไรบางอย่างบน Google แล้วในประโยคนั้นมี Keyword ตรงกับเว็บไซต์ เว็บไซต์ของคุณก็จะแสดงขึ้นบนหน้า Google
ถ้าคุณเข้าใจพฤติกรรมการค้นหาของลูกค้า ก็จะช่วยให้คุณเลือก Keyword ได้ถูกต้อง ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก และมีคนคลิกเว็บไซต์ของเรามากขึ้นนั่นเอง
บทบาทของ Keyword Research ที่มีต่อการทำ SEO
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจหลักการทำงานของ Google ก่อนว่า ระบบ Searcg Engine ของมันนั้นมักจะพยายามจัดหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมากที่สุดกับคำค้นหาของผู้ใช้ ซึ่ง “คำค้นหา” ดังกล่าวก็คือ Keyword ที่เรากำลังพูดถึงกันนั่นเอง
โดยการทำ Keyword Research หรือ Keyword Analytic นั้นจะช่วยให้เราสามารถระบุได้ว่า User จะค้นหาแบรนด์หรือบริการของเรายังไงบ้าง ทั้งนี้ยังช่วยให้เราทราบอย่างชัดเจนว่าจะรวมเครื่องมือหรือเนื้อหาส่วนใดไว้ในหน้าเว็บของเราบ้างเพื่อให้ User และเครื่องมือค้นหาของ Google มองเห็นหน้าเนื้อหาหรือหน้าเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้น
และด้วยวิธีการทำ Keyword Research ดังกล่าว เมื่อ Google ส่ง Bot เข้ามาเก็บข้อมูลและจัดทำดัชนีหน้าเว็บ (Indexing) ก็จะพบว่าเนื้อหาในเว็บไซต์ของเรามีความเกี่ยวข้องที่ตรงกันกับความต้องการของ User (เนื่องจากมี Keyword ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่) และส่งผลให้ถูกจัดอันดับให้สูงขึ้นตามมาด้วย
อย่างไรก็ตาม การทำ Keyword Research ถือเป็นเพียงขั้นตอนเบื้องต้นเท่านั้น นอกจากนี้ นักทำ SEO จะต้องรู้วิธีใช้ Keyword ต่าง ๆ ที่ค้นหามาในหน้าเว็บของตนเองด้วย โดยจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพตั้งแต่ URL ไปจนถึงชื่อเรื่อง หัวเรื่อง และเนื้อหาของเนื้อหานั้น ๆ ยิ่งหากรู้วิธีใช้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เราสามารถแข่งขันและชนะคู่แข่งในวงการและอุตสาหกรรมเดียวกันได้ไม่ยาก
อย่างไรก็ตาม ตามที่ได้กล่าวไป สิ่งสำคัญคือ เราต้องทราบว่าการปรับ Keyword ให้เหมาะสมเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ Google Search จะพิจารณาเมื่อจัดอันดับหน้าเว็บของเรา ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น การสร้าง Backlink หรือ การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์โดยการปรับ Site Speed เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไปอีก
และต่อจากนี้ เราจะมาดูกันว่าขั้นตอนในการค้นหา Keyword ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีอะไรบ้าง
ขั้นตอนการหา Keyword ที่ใช้ได้ผลจริง
คำแนะนำง่าย ๆ ในการค้นหาคำหลักอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1.กำหนดเป้าหมายและลิสต์ Topic ที่สำคัญ ๆ ไว้ก่อน
ขั้นตอนแรก คือนักทำ SEO ต้องตั้งเป้าหมายว่าเนื้อหาที่เรากำลังจะนำเสนอและเรียบเรียงมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรกันแน่โดยสามารถทำได้ใน Keyword Reseach ของเรา ซึ่งเราจะต้องมี…
- กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (User-กลุ่มของผู้อ่านที่เราต้องการ)
- ความต้องการหลักและรองของกลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งไว้
- วิเคราะห์ว่าทำไมกลุ่มเป้าหมายของเราถึงต้องการสินค้าของเรา
- จากนั้น สร้างรายชื่อหัวข้อกว้าง ๆ ที่นักทำ SEO ต้องการจัดอันดับสำหรับธุรกิจของตนเอง โดยขั้นตอนนี้จะช่วยให้เราข้าใจทิศทางโดยทั่วไปก่อนที่จะจำกัดแต่ละหัวข้อให้แคบลงในภายหลังได้
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่นักทำ SEO มีแบรนด์หรืออยู่ในวงการใดแบบเฉพาะพิเศษนอกจากลิสต์ต่าง ๆ ด้านบนสิ่งที่ต้องทราบแล้ว ก็อาจจะต้องทำการจำแนก Business Activities ของแบรนด์เอาไว้ด้วย เพราะมันสามารถช่วยให้นักทำ SEO จัดลำดับความสำคัญในการนำ Keyword มาเรียบเรียงเนื้อหาให้น่าสนใจได้
2. เริ่มค้นหา Keywords
หลังจากที่เราสามารถระบุเป้าหมายในการจัดทำเนื้อหาหรือหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาเราก็สามารถเริ่มค้นหา Keyword ที่จะนำมาใช้ได้เลย ซึ่งหากจะเริ่มต้นง่าย ๆ ให้นักทำ SEO ลองค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือตนเองก่อน หรือคำที่คิดว่า User น่าจะทำการเสิร์จแล้วมาเจอเราได้ง่าย
ยกตัวอย่างเช่น คำที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือสินค้าบางประเภท
- เสื้อผ้าผู้หญิง
- เครื่องสำอางค์เกาหลี
- ร้านอาหารญี่ปุ่น
จากนั้น ค่อย ๆ นำตัว Keyword ดังกล่าวมาเป็นตัวตั้งต้นเพื่อหากลุ่ม Keyword ที่เกี่ยวข้องหรือมีความหมายที่คล้าย ๆ กันต่อไป ซึ่ง Keyword จะมีหลายแบบ แต่เบื้องต้นจะประกอบด้วย
- Short Keyword (Keyword แบบสั้น) Keyword ทั่วไป เป็นคำ หรือวลีกว้าง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจง เป็นคำที่มีปริมาณค้นหาสูงมาก ข้อดีคือ ถ้าคุณทำให้เว็บไซต์ติดอันดับด้วย Keyword ประเภทนี้ได้ ก็จะทำให้เว็บไซต์ และธุรกิจของเราป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่การจะทำให้ติดอันดับต้น ๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคำที่มีปริมาณค้นหาสูง คู่แข่งของเราก็มีมากเช่นกัน
- Longtail Keyword (Keyword แบบยาว) เป็น Keyword ที่เฉพาะเจาะจง บอกความต้องการของคนที่เสิร์ชชัดเจน แม้ปริมาณการค้นหาอาจจะต่ำ และไม่กว้างเท่ากับ 2 ประเภทที่กล่าวไป แต่ก็เรียกได้ว่าเป็น Keyword ที่ทำเงินให้กับคุณเลย เพราะคนที่เสิร์ช Keyword กลุ่มนี้ คือคนที่มีความต้องการที่จะซื้อสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งข้อดีของ Longtail Keyword คือมันจะทำให้หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ถูกจัดอันดับได้ง่ายกว่าหากเราใช้มันอย่างถูกต้อง เนื่องจากมีการแข่งขันน้อยกว่า เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น การเข้าชมที่ถูกดึงโดยการใช้คำ Longtail Keyword จะมีความเกี่ยวข้องต่อแบรนด์และลูกค้ามากกว่าและนำไปสู่ Conversion ที่สูงขึ้นด้วย
จะหา Short Keyword และ Longtail Keyword ได้อย่างไร
- ระดมความคิด นึกถึงแบรนด์และทุกสิ่งที่เราอยากนำเสนอ จากนั้นพยายามหาคำหลัก (Main Keyword) จากมุมมองของลูกค้าจากและนำมาทำเป็น List ไว้ หลังจากนั้นต่อยอดตามที่เราสามารถทำได้
- ค้นหามุมมองใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำการสำรวจจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เราสามารถใกล้ชิดกับลูกค้าหรือผู้อ่นได้มากขึ้น เพราะทุก ๆ เรื่องและทุก ๆ ปัญหาของกลุ่มผู้คนดังกล่าวสามารถนำมาค้นหา Keyword และแนวทางการเขียนได้เป็นอย่างมาก
- ใช้เครื่องมือค้นหา โดยนักทำ SEO สามารถใช้เครื่องมือสร้าง Main Keyword ง่าย ๆ เช่น เครื่องมือวางแผนคำหลัก Google และการเติมข้อความอัตโนมัติของ Google เพื่อค้นหาแนวคิดรวมถึงเครื่องมือเฉพาะ SEO อื่น ๆ เช่น Ahrefs และ Ubersuggest ที่มีแพ็คเกจฟรีสำหรับการสร้างและค้นหา Main Keyword โดยเครื่องมือ SEO เหล่านี้มีรายการคำแนะนำที่ช่วยให้คุณค้นหาแนวคิด Main Keyword เพิ่มเติมพร้อมกับวิเคราะห์ Keyword ต่าง ๆ ของคู่แข่งได้ด้วย
- วิเคราะห์ Main Keyword ปัจจุบัน หากนักทำ SEO มีกลยุทธ์ในการใช้ Main Keyword อยู่แล้ว อีกสิ่งที่ต้องทำเสมอคือเราจะต้องคอยวิเคราะห์ Main Keyword คำปัจจุบันของเราเรื่อย ๆ เพื่อดูว่า Main Keyword คำนี้มีการทำงานเป็นอย่างไร วิเคราะห์ว่า Main Keyword ตัวไหนที่นำการเข้าชมเข้ามาแล้วและเพราะเหตุใด และใช้ Main Keyword คำนั้นมาต่อยอดเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ทั้งนี้มันยังทำให้นักทำ SEO สามารถปรับปรุงเนื้อหาได้ดีขึ้นด้วย
3.วิเคราะห์ Keywords ต่าง ๆ ที่หามา (Keyword Analytic)
จากที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นว่านักทำ SEO ต้องคอยวิเคราะห์ Main Keyword คำปัจจุบันของเราเรื่อย ๆ เพื่อดูว่า Main Keyword คำนี้มีการทำงานเป็นอย่างไร เนื่องจากมันสามารถนำไปต่อยอดสู่การเพิ่ม Keyword ที่สามารถดึงยอด Traffic อื่น ๆ ได้ รวมถึงนำไปเป็นตัวแบบในการปรับปรุงเนื้อหาเก่า ๆ ได้อีกด้วย
ซึ่งการวิเคราะห์ Main Keyword สามารถดูได้จากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
ความเกี่ยวข้อง: Main Keyword ที่เราเลือกเพื่อเน้นเนื้อหาควรเป็น Main Keyword ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเรา เพราะนั่นจะเป็นวิธี Google Searcg Engine พิจารณาว่ามันพบหน้าเนื้อหาจากเว็บไซต์เราที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับ User ที่กำลังใช้งานอยู่หรือไม่
ปริมาณการค้นหา (Search Volume) : หมายถึงจำนวนผู้ที่กำลังค้นหาคำหลักเฉพาะ โดยเนื้อหาที่เราจัดทำสามารถถูกจัดอันดับให้ติดในตำแหน่งสูง ๆ ได้จาก Keyword ต่าง ๆ ที่เลือกใช้ แต่หาก Keyword ดังกล่าวไม่ได้มี Search Volume ที่มากนักก็อาจจะไม่ได้ส่งผลต่อการ Ranking เท่าไหร่
ความยากของ Main Keyword: Main Keyword บางคำมีการแข่งขันสูงกว่าคำอื่น ๆ ดังนั้นจึงยากต่อการ Ranking ตามไปด้วย ซึ่ง Main Keyword ที่มี Keyword Difficulty มากแสดงว่ามีการแข่งขันสูง เหมาะกับการนำมาใช้ แต่ในขณะที่ Main Keyword ที่มี Keyword Difficulty ต่ำแสดงว่ามีการแข่งขันน้อยหรือไม่ดึงดูดการเข้าชมใด ๆ เลยนั่นเอง ซึ่งอาจจะไม่เหมาะในการนำมาเป็น Main Keyword มากนัก
วิเคราะห์คู่แข่ง:การวิเคราะห์คู่แข่งช่วยให้นักทำ SEO ตรวจสอบได้ว่า Main Keyword ใดที่คู่แข่งอื่น ๆ ในวงการเดียวกันกำลังถูกจัดอันดับอยู่ ด้วยวิธีนี้ เราสามารถประเมินรายการ Main Keyword ของเราใหม่และทำการเปลี่ยนแปลงได้ หากคู่แข่งของเราได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าใน Main Keyword ที่เราใช้อยู่เหมือนกัน แล้ว หมายความว่าเราจะต้องปรับปรุงเนื้อหาเพื่อให้เรามีแต้มต่อในการแข่งขัน นอกจากนี้ หากคู่แข่งดังกล่าวไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพโดยการปรับปรุงหรือแก้ไขเนื้อหาที่มี Main Keyword บางคำที่มี Search Volum สูง ๆ ก็เป็นโอกาสของเราที่จะใช้ช่องโหว่ตรงนี้ในการเร่งทำคะแนน
วัตถุประสงค์ของการค้นหาของ User: ความตั้งใจในการค้นหาของผู้ใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่นักทำ SEO ควรพิจารณาเพื่อที่จะได้จัดลำดับความสำคัญของ Keyword ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งวัตถุประสงค์ในการเสิร์จ Keyword ต่าง ๆ ของผู้ใช้มีหลายประการด้วยกัน เช่น
- เพื่อหาเป็นข้อมูล: เนื่องจาก Keyword บางคำไม่ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อนำมาเป็น Conversion จริงๆ แต่มีไว้เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของคำถาม เช่น “หนังสือเสียงคืออะไร”
- เชิงพาณิชย์: User ส่วนใหญ่ที่ใช้คำหลักด้วยจุดประสงค์นี้มักจะมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ความตั้งใจของพวกเขาคือเพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่มีอยู่หรือเพื่อทำการซื้อ
- เพื่อเป็นเครื่องมือนำทาง:ผู้ค้นหาใช้คำหลักในการนำทางเพื่อค้นหาบริษัทหรือแบรนด์ที่พวกเขารู้จักอยู่แล้วและกำลังพยายามค้นหาเว็บไซต์ทางการของแบรนด์นั้น ๆ ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่มักใช้ Keyword เหล่านี้เพื่อนำทาง User มาหาเว็บไซต์ของแบรนด์ไอย่างถูกต้องนั่นเอง
4.การจัดลำดับ Keyword
จากรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น Keyword Density (จำนวน Keyword ที่ใช้) และ Search Volume (ปริมาณการค้นหาของ Keyword นั้น ๆ ) ถือเป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเรียงลำดับการใช้ Keyword ในเนื้อหา ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรเรียงลำดับแบบไหน
ก่อนอื่น ให้นักทำ SEO จัดทำ Keyword ต่าง ๆ ที่หามาไว้เป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งอาจเริ่มจากการเป็น Primary และ Secondary Keyword ก่อน จากนั้นค่อย ๆ ทยอยนำ Keyword อื่น ๆ มาเรียงต่อลงมาเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเป็น Related และ Longtail Keyword ก็ได้เช่นกัน
โดยการทำช่นนี้ นอกจากจะทำให้เนื้อหาถูกเรียบเรียงออกมาได้อย่างธรรมชาติและตรงตามความต้องการของ User แล้ว ก็จะง่ายต่อการอ่านของ Google Bot ด้วยนั่นเอง
ทั้งนี้ สำหรับนักทำ SEO คนไหนที่ยังไม่แน่ใจว่าควรใช้ Keyword คำไหนเป็นคำหลัก ( Primary Keyword) และคำรอง (Secondary Keyword) ก็สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่าง เหล่านี้
- Keyword คำนั้น ๆ สามารถช่วยให้เนื้อหาที่จะทำติดอยู่ในอันดับที่ดีได้หรือไม่
- Keyword คำนั้น ๆ มีความสามารถในการดึงดูด Traffic ให้เข้าสู่เว็บไซต์มากแค่ไหน
- หาก Keyword คำนั้น ๆ สามารถเป็น Primary Keyword ที่สามารถดึง Traffic แล้วสามารถทำให้เกิด Conversion ไ้ด้วยหรือเปล่า
ซึ่งถ้าหากนักทำ SEO สามารถแยก Keyword ต่าง ๆ ที่หามาจากคำถามเหล่านี้ได้ ก็สามารถจัดอันดับได้ว่าคำไหนควรเป็น Primary, Secondary, Related และ Longtail Keyword ซึ่งถ้าหากเรียงลำดับได้ถูกต้อง ก็จะยิ่งทำให้เนื้อหาหน้านั้น ๆ มีประสิทธิภาพมากพอที่จะถูกจัดอันดับให้อยู่ในตำแหน่งดี ๆ ได้
5.ตำแหน่งของ Keyword ในเนื้อหา
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการค้นหา Keyword นั่นคือการจัดวางมันไว้ในส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหา แต่ก่อนอื่นนักทำ SEO ต้องแน่ใจก่อนว่าคุณสามารถคัดเลือก Primary Keyword ได้อย่างดีแล้ว
โดยในการเลือกใช้ Primary Keyword นั้น นักทำ SEO ต้องจัดลำดับความสำคัญของจุดประสงค์ในการค้นหาของ User เช่น หากเว็บไซต์ของเราเป็น เชิงพาณิชย์ ก็จะต้องเลือกคำหลักที่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ด้วย
ทั้งนี้ นอกจากการจัดลำดับความสำคัญดังกล่าวแล้ว นัก SEO ยังสามารถดูการวิเคราะห์ Primary Keyword ได้คู่แข่ง โดยทำการดูที่โดเมนบนเว็บไซต์ของคู่แข่งที่มีการจัดอันดับสำหรับ Keyword บางคำ หากเว็บไซต์ของคู่แข่งมีโดเมนต่ำ เราอาจนำ Keyword เหล่านั้นมาเป็น Primary Keyword ของเราได้เ
อย่างไรก็ตาม เมื่อนักทำ SEO สามารถเลือก Primary Keyword และ Keyword กลุ่มอื่น ๆ ของตนเองได้แล้ว ขั้นตอนถัดมาอีกคือ นักทำ SEO จะต้องใช้ Keyword ดังกล่าวอย่างถูกวิธีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งจะมีวิธีการอย่างไรตามมาดูไปพร้อม ๆ กัน
ตำแหน่งของการวาง Keyword ต่าง ๆ
จากที่ได้กล่าวไปว่าตำแหน่งของการวาง Keyword ในแต่ละกลุ่มนั้นสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าใช้อย่างถูกต้อง เนื้อหาในหน้านั้น ๆ ก็สามารถดึง Traffic และถูก Ranking ขึ้นมาในอันดับที่ดี ๆ ได้เลยทีเดียว โดยตำแหน่งส่วนใหญ่ในการวาง Keyword สำหรับการทำ SEO นั้นจะมีอยู่ 6 จุดด้วยกัน คือ…
1.Meta description เป็นส่วนที่แสดงภายใต้ชื่อของเว็บไซต์ของเราบน SERP มันมีบทสรุปของเนื้อหาของเราว่าเกี่ยวกับอะไร
2.Title Tag เป็นส่วนหนึ่งของ HTML ที่อธิบายหัวเรื่องของหน้าเว็บไซต์ โดยเป็นองค์ประกอบของ SEO โดยทางเทคนิคที่โปรแกรมรวบรวมข้อมูลของเครื่องมือค้นหาจัดทำดัชนีเป็นอันดับแรกในหน้าเว็บของเรา เจ้า Title Tag ตัวนี้จะปรากฏเป็นบรรทัดแรกที่คลิกได้สำหรับเนื้อหาหน้านั้น ๆ ของเราและเป็นสิ่งแรกที่ User จะเห็นบน SERPs นั่นเอง
3.H1 และ subheading อื่น ๆ เมื่อ USer เปิดเนื้อหาของเรา H1 และ subheading จะปรากฏขึ้นมาแบบพอสังเขปเพื่อโชว์ User ว่าเนื้อหาของเรามีอะไรบ้าง และเพื่อช่วยให้ User ตัดสินใจได้ว่าเนื้อหาของเราคือสิ่งที่พวกเขากำลังมองหาหรือไม่
ดังนั้น การใช้ Keyword ของเราใน subheading บางส่วนจะช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องของเนื้อหาของเรานั่นเอง ซึ่ง subheading ของเราอาจปรากฏในตัวอย่างข้อมูลแนะนำของ Google และการรวม Primary Keyword ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอด Traffic มากขึ้นด้วย
4.URL หลีกเลี่ยงการใช้อักขระหรืออักษรยาว ๆ บน URL ของหน้าเนื้อหาที่เราทำ โดยเปลี่ยนมาใช้คำหลักหรือ Primary Keyword ของเราแทน และหาก Primary Keyword ของเรายาวเกินไป ก็พยายามทำให้มันสั้นหรือ Group คำใน Primary Keyword บางส่วนสามารถสรุปเนื้อหาบนหน้าเว็บของเราได้ดีที่สุด นอกจากนี้ให้อ่านและเข้าใจง่ายด้วย ก็จะช่วยได้มากขึ้น
5.Content หรือวางไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหา ซึ่งจะคล้าย ๆ กับการวางไว้ตรง H1 และ subheading แต่รอบนี้จะเป็นการวางไว้ตามเนื้อหามากขึ้นเพื่อให้มันดูเป็นธรรมชาติ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า แม้การเก็บ Keyword ไว้ได้เยอะ ๆ และสามารถช่วยให้เนื้อหาหน้านั้น ๆ ไต่อันดับได้จริง แต่การเรียบเรียงเนื้อหาให้ดูเป็นธรรมชาติก็สำคัญ ไม่ควรนำ Keyword ในกลุ่มต่าง ๆ ไปกระจุกไว้ส่วนใดส่วนหนึ่ง เพราะจะทำให้ Google มองว่าเราสแปมเนื้อหาและไม่เหมาะกับ User ของมันนั่นเอง
6. Google Image นอกจากเนื้อหาที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เรายังสามารถวาง Keyword ไว้ที่รูปภาพประจำบทความได้ด้วย เพราะ Google มีฟังก์ชั่น Search Image ที่สามาถจับ Keyword จากภาพได้ ดังนั้น นักทำ SEO สามารถนำ Keyword ไปวางไว้ในส่วนต่าง ๆ ของรูปภาพ ดังนี้
- ชื่อไฟล์ภาพ (image file name)
- ชื่อภาพ (image title)
- ข้อความใต้ภาพ หรือ image alt text ซึ่งเป็นจุดที่ Google Bot จะมาทำการเก็บข้อมูล
ซึ่งถือว่าเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ User สามารถหาเนื้อหาของเราพบอีกช่องทางหนึ่งเช่นเดียวกัน
7 เครื่องมือสำหรับใช้ค้นหา Keyword ที่นักทำ SEO ต้องรู้จัก
หลักจากที่ทำการศึกษาเคล็ดลับในการหา Keyword ต่าง ๆ และการใช้ที่ถูกต้องกันไปแล้ว ต่อมา อีกสิ่งที่นักทำ SEO ควรรู้จัก ก็คือเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงในการหา Keyword ต่าง ๆ ได้ ซึ่งบางเครื่องมือก็มีฟังก์ชันอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการช่วยหา Keyword ด้วยเช่นกัน
ซึ่งวันนี้ Funnel ได้นำเครื่องมือหา Keyword ที่น่าสนใจสำหรับนักทำ SEO มาฝากถึง 7 เครื่องมือด้วยกัน ดังนี้..
1.Google Autocomplete
ข้อความอัตโนมัติ หรือ Autocomplete ซึ่งเป็นการเติมข้อความอัตโนมัติมีประโยชน์อย่างมากทั้งสำหรับผู้ที่ใช้ Google บนเดสก์ท็อปและโทรศัพท์มือถือ ที่ทำให้การค้นหาบนหน้าจอขนาดเล็ก ๆ เป็นเรื่องง่ายขึ้น รวมถึงช่วยประหยัดเวลาได้ดีทีเดียว วิธีการคือแค่เพียงเรานำ Keyword ตัวใดตัวหนึ่งที่เราจะนำมาใช้ทำเนื้อหาลงในช่องว่าง หลังจากนั้น Google จะทำการประมวลและแนะนำ Keyword อื่น ๆ ที่เคยมี User ค้นหาขึ้นมา จากนั้นนักทำ SEO ก็สามารถนำ Keyword ดังกล่าวมาต่อยอดได้
ทั้งนี้ยังรวมถึงแถบ “People Also Ask / ผู้คนยังถามถึง” ด้วย
และด้านล่างของหน้า Search Result ที่มีส่วนแนะนำคำหลักเพิ่มเติม
ข้อดี
- ง่ายต่อการใช้
- ฟรี
ข้อเสีย
- อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับเครื่องมือเฉพาะทางอื่น ๆ
2.Google Keyword Planner
เครื่องมือฟรีจาก Google ที่ช่วยทำ Keyword Research และวางแผนเกี่ยวกับ Keyword โดยสามารถค้นหา Keyword ใหม่ๆ ที่ช่วยในการติดอันดับบน Search Engine ได้ ทั้งนี้ยังสามารถช่วยวิเคราะห์ Keyword ของฝั่งคู่แข่งได้อีกด้วย
ข้อดี
- ฟรี
ข้อเสีย
- มีข้อจำกัดในการใช้งานสำหรับบาง keyword research features
3.Google Trends
เป็นเครื่องมือทั่วไปที่ช่วยให้เรารู้ว่าผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกกำลังมองหาอะไรบน Google และอะไรกำลังเป็นที่นิยมในโลกออนไลน์ แสดงให้เห็นว่า User ค้นหาคำใดคำหนึ่งบ่อยเพียงใดเมื่อเทียบกับปริมาณการค้นหาทั้งหมด ทั้งนี้ Google Trends ยังช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบคำหลักแต่ละคำได้อีกด้วย และสามารถเลือกตำแหน่งหรือประเทศที่เราต้องการรู้เทรนด์เป็นพิเศษได้
ข้อดี
- เครื่องมือฟรี
- ให้ข้อมูลประวัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความสนใจของผู้ค้นหาเมื่อเวลาผ่านไป
- เหมาะแก่การค้นหากระแสไวรัล
ข้อเสีย
- ไม่มีประสิทธิภาพสำหรับการวิเคราะห์คำหลักเชิงลึก
4.Ubersuggest
เป็นเครื่องมือฟรีที่มีฟังก์ชันให้ใช้มากกว่าเครื่องมือฟรีอื่น ๆ โดยข้างต้นนอกจากจะมีความเฉพาะและเสถียรในเรื่องของการวิเคราะห์ SEO มากกว่าแล้ว Ubersuggest ยังสามารถช่วยเราสร้างแนวคิด Primary Keyword และแสดงปริมาณการค้นหา (Search Volume), ความยากของคำหลัก (Keyword Difficulty), ความยากที่ต้องชำระเงิน (Paid difficulty) และการจ่ายต่อคลิก (Pay pre click) ด้วย
อย่างไรก็ตาม Ubersuggest จะเปิดให้ใช้ฟรีในฟังก์ชันแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งถ้าหากนักทำ SEO คนไหนรู้สึกชื่นชอบในเครื่องมือตัวนี้ก็สามารถซื้อหรือจ่ายเป็นรายเดือนได้เพื่อเปิดใช้ฟังก์ชันอื่น ๆ ได้
นอกจากนี้ยังมี Content Ideas แนะนำด้วย
ข้อดี
- มี Chrome Extension ที่ใช้งานง่าย
- ราคาไม่แพง
- เครื่องมือที่ใช้งานง่าย
- มีเวอร์ชันฟรีและทดลองใช้ฟรี 7 วันสำหรับเวอร์ชันที่ต้องชำระเงิน
ข้อเสีย
- ไม่มีแอพมือถือ
ราคา
- รายบุคคล: $12/เดือน
- ธุรกิจ: $20/เดือน
- องค์กร/หน่วยงาน: $40/เดือน
5.Ahrefs
อีกหนึ่งเครื่องมือ SEO ที่มีฟังก์ชันต่างๆ เช่น การวิจัยคำหลัก การวิเคราะห์ Backlink การตรวจสอบเว็บไซต์ การวิเคราะห์โดเมน และเครื่องมือติดตามอันดับ โดยฟังก์ชันที่ให้ใช้ฟรีของ Ahrefs สามาถช่วยให้คเราเปรียบเทียบรูปแบบ Primary Keyword ในการค้นหาของเราได้ รวมถึงปริมาณการค้นหา (Search Volume) และความยากของคำหลัก (Keyword Difficulty) อีกด้วย
ข้อดี
- เครื่องกำเนิดคำหลักฟรี
- ใช้งานง่าย
- เครื่องมือ SEO นั้นครอบคลุม
ข้อเสีย
- แพ็คเกจเหมาจ่ายมีราคาแพง
- ไม่มีการทดลองใช้ฟรีในแผนการชำระเงิน
ราคา
- ทั่วไป: $99 ต่อเดือน
- มาตรฐาน: $ 199 ต่อเดือน
- ขั้นสูง: $ 399
- องค์กร: $999
6.Semrush
เป็นเครื่องมือที่มีรูปแบบฟังก์ชันคล้าย ๆ กับ Ahrefs โดยถือว่า Semrush เป็นเครื่องมือการตลาด SEO ที่มีประสิทธิภาพมากอีกชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะมันมีเครื่องมือ Keyword Research ฟรี
ซึ่งเครื่องมือวิจัยคำหลักดังกล่าวช่วยให้นัก SEO ค้นหา:
- ปริมาณการค้นหารายเดือน (Monthly Search Volume)
- ความยากของคำหลัก (Keyword Difficulty)
- เว็บไซต์ที่มีการจัดอันดับสำหรับคำหลัก (Site Ranking Keyword)
- คำแนะนำคำหลัก (Keyword Idea)
- วัตถุประสงค์ในการเสิร์ชของผู้ใช้ (User intent)
ข้อดี
- ให้ข้อมูล keyword intent data
- มีการจัดระเบียบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ได้อย่างดี
- มีเครื่องมือการรายงาน SEO อย่างละเอียด
ข้อเสีย
- สามารถสร้างบัญชีเดียวสำหรับแผน Semrush ทั้งหมด
- ในการทดลองใช้งานฟรีเราต้องให้รายละเอียดบัตรเครดิตของเราก่อนด้วย
ราคา
- ฟรี: $0
- มือโปร: $119 ต่อเดือน
- กูรู: $ 229 ต่อเดือน
- ธุรกิจ: $449 ต่อเดือน
7. Moz
เป็นเครื่องมือ SEO ที่ครอบคลุมทั้งหมดซึ่งมีเครื่องมือสำรวจ Keyword ฟรี
โดยเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้นัก SEO สามารถทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ มากมาย เช่น:
- คำแนะนำคำหลัก (Keyword Ideas)
- การวิเคราะห์ SERP
- ปริมาณการค้นหารายเดือน (Monthly search volume)
- ความยากของคำหลัก (Keyword Difficulty)
- อัตราการคลิกผ่านทั่วไป (Organic click-through rate)
- ลำดับความสำคัญของคำหลัก (Keyword priority)
โดยจะเห็นได้ว่า Moz ไม่เหมือนกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น เพราะแค่เครื่องมือวิจัยคีย์เวิร์ดของ Moz เพียงอย่างเดียวก็ให้ข้อมูลเชิงลึกมากมาย ส่วนการวิเคราะห์ SERP ช่วยให้นัก SEO วิเคราะห์การจัดอันดับเว็บไซต์สำหรับคำหลักเฉพาะ และดูการจัดอันดับหน้าและโดเมน และรวมถึงวิเคราะห์คู่แข่งได้ด้วยจากเครื่องมือชนิดเดียว
ข้อดี
- เครื่องมือสำรวจคำหลักที่ครอบคลุม
- มีส่วน Chrome extension
ข้อเสีย
- มีแผนการชำระเงินอาจมีราคาแพง
ราคา
- มาตรฐาน: $99/เดือน
- ปานกลาง: $179/เดือน
- ใหญ่: $299/เดือน
- พรีเมียม: $599/เดือน
**ราคาของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ Funnel นำมาเสนอนั้นต้องนำมาคำนวณเป็นสกุลเงินไทยก่อนด้วย**
ท้ายที่สุด ข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งและจุดเริ่มต้นของการทำ SEO เท่านั้น หากนักทำ SEO มือใหม่คนไหนอยากมีประสบการณ์และสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต ก็สามารถเริ่มต้นจากเคล็ดลับและครื่องมือต่าง ๆ ทางด้านบนได้ เพราะมันจะเป็นจุด Start ที่ดีอย่างแน่นอน