Content Pillar คืออะไร กลยุทธ์คอนเทนต์สู่ความสำเร็จทางธุรกิจ
เว็บไซต์หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เปรียบเสมือนร้านค้า การทำ Content Pillar จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ข้อมูลที่ถูกนำเสนอออกไปสามารถสะท้อนภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความ SEO นี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า Content Pillar คืออะไร และจะใช้อย่างไรได้บ้าง ตามไปอ่านกันได้เลย
ทำความรู้จัก Content Pillar ตัวช่วยเรื่องคอนเทนต์
การสร้างคอนเทนต์เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้รับความนิยมในยุคดิจิทัล แต่หากแบรนด์ทำคอนเทนต์ไปเรื่อย สะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง ก็จะไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย และอาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์ด้วย ดังนั้นจึงต้องมี Content Pillar เป็นเหมือนกรอบที่ช่วยกำหนดขอบเขตของเนื้อหา ทำให้แบรนด์สามารถวางแผนการทำคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
Content Pillar คืออะไร
Content Pillar คือ โครงสร้างของเนื้อหาที่นำเสนอบนเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นการนำเสนอสิ่งที่แบรนด์อยากให้ลูกค้าทราบ หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการทราบจากแบรนด์ โดยสามารถตั้งเป็นหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อยเล็กๆ ลงไปอีก และในแต่ละ Content Pillar ก็อาจจะประกอบไปด้วยบทความ วิดีโอ หรือรูปภาพ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น เช่น Content Pillar ตัวอย่างเว็บไซต์ท่องเที่ยว อาจจะประกอบไปด้วย
- หัวข้อใหญ่ : สถานที่ท่องเที่ยว
หัวข้อย่อย: สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศ ต่างประเทศ
- หัวข้อใหญ่ : ที่พัก
หัวข้อย่อย : โรงแรม, รีสอร์ต, ที่พักสำหรับครอบครัว เป็นต้น
- หัวข้อใหญ่ : กิจกรรม
หัวข้อย่อย : เดินป่า, ช้อปปิ้ง, เล่นน้ำตก, ชิมอาหาร เป็นต้น
ประเภทของ Content pillar มีอะไรบ้าง
Content Pillar คือโครงสร้างของเนื้อหา ซึ่งไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นบทความเสมอไป สามารถประยุกต์ใช้กับการสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบใดก็ได้ หรืออาจสร้างคอนเทนต์หลายๆ แบบ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เช่น
- วิดีโอ การนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวจะดึงดูดความสนใจได้มากกว่าข้อความ ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม หรืออธิบายเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น วิดีโอสาธิตวิธีการใช้งาน วิดีโอบอกเล่าถึงที่มาของแบรนด์ ชมเบื้องหลังการผลิต เป็นต้น
- Infographics เป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกให้เข้าใจง่ายขึ้น ผสมผสานข้อมูล ตัวเลข หรือรายละเอียดต่างๆ เข้าด้วยกัน และแสดงผลผ่านรูปภาพ หรือกราฟ ที่ออกแบบให้มีสีสัน หรือลูกเล่นที่ดึงดูดสายตา อ่านง่าย จดจำได้รวดเร็ว กดแชร์ได้สะดวก
- Podcast บางคนไม่มีเวลานั่งดู แต่สามารถเปิดฟังระหว่างเดินทางได้ อาจจะมีผู้นำเสนอรายการเพียงคนเดียว หรือเป็นการสัมภาษณ์แขกรับเชิญ ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความสนุก และสาระความรู้ไปพร้อมกัน
- Live การไลฟ์สดในช่องทางต่างๆ มีข้อดีคือสามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้เรียลไทม์ คนส่วนใหญ่ชอบเพราะถามไปแล้วได้คำตอบทันที อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ให้รู้สึกสนิทสนมกันมากขึ้น
- แคมเปญ การจัดกิจกรรมที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วม เช่น เล่นเกมตอบคำถาม เขียนรีวิวสินค้า เพื่อชิงรางวัล ช่วยเพิ่ม Engage กระตุ้นให้ลูกค้ามีการโต้ตอบ แสดงความคิดเห็น แชร์กิจกรรมบนโซเชียลมีเดีย ทำให้ลูกค้าจดจำ แบรนด์ และสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ได้ด้วย
ประโยชน์ของการวาง Content pillar
- เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
ประโยชน์ของ Content pillar ช่วยให้แบรนด์สามารถปรับแต่งคอนเทนต์ให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ดึงดูดความสนใจ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น
- สร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์
การนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงประเด็น หรือเนื้อหาเชิงลึกที่มีประโยชน์ แสดงถึงความเชี่ยวชาญ ความใส่ใจของแบรนด์ และการเผยแพร่เนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
- เพิ่มการรับรู้
คอนเทนต์ที่ดีจะทำให้เกิดการกดไลค์ กดแชร์ เพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ อีกทั้งยังช่วยให้ติดอันดับการค้นหาใน Google ได้ง่ายขึ้น เพราะเนื้อหาบนเว็บไซต์มีการจัดระเบียบที่ดี เชื่อมโยงกับ keyword ที่มี Search Volume สูงได้อย่างเหมาะสม ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจใน keyword นั้นๆ สามารถค้นหาเนื้อหาที่ต้องการได้ง่าย หรือเนื้อหาของคอนเทนต์เข้าใจง่าย มีประโยชน์ ทำให้คนชื่นชอบ
ขั้นตอนการสร้าง Content Pillar ทำอย่างไร
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า Content Pillar คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร หลายคนคงอยากรู้แล้วว่าถ้าจะสร้าง Content Pillar ต้องทำอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการสร้าง Content Pillar ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
- กำหนดเป้าหมาย
ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร เช่น ถ้าอยากเพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ อาจจะต้องเพิ่มความน่าสนใจของเนื้อหา เน้นสิ่งที่กำลังเป็นกระแส แต่ถ้าอยากเพิ่มยอดขาย อาจจะต้องเน้นคอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้งาน รีวิว เป็นต้น
- วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
อีกหนึ่งขั้นตอนการสร้าง Content Pillar ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพราะแต่ละกลุ่มมีสไตล์การเสพคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดควรเจาะลึกอย่างละเอียด เช่น เพศ อายุ รายได้ ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายกำลังมองหาอะไร สนใจอะไร และสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
- สำรวจคู่แข่ง
ลองศึกษาคอนเทนต์ของคู่แข่งว่ามีคอนเทนต์เกี่ยวกับอะไรบ้าง อันไหนที่คนสนใจ เปรียบเทียบกับของตัวเองว่ามีอะไรที่ดีกว่า ด้อยกว่า จะช่วยให้วางแนวทางและพัฒนาคอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- กำหนดหัวข้อ Content Pillar
การตั้งหัวข้อ Content Pillar ก็ต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ตั้งตามเป้าหมาย เช่น คอนเทนต์ที่ช่วยเพิ่มยอดขาย, คอนเทนต์ที่ช่่วยเพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า, คอนเทนต์ที่ทำให้คนจดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ เป็นต้น
- ตั้งตามเนื้อหาคอนเทนต์ เช่น แบ่งเป็นคอนเทนต์ให้ความรู้, คอนเทนต์ที่ตรงกับเทศกาลต่างๆ, คอนเทนต์ที่กำลังเป็นกระแส เป็นต้น
- เผยแพร่เนื้อหาอย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการสร้าง Content Pillar อันสุดท้ายก็คือการเผยแพร่ ซึ่งก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมหลายๆ ด้าน ทั้งช่องทางที่จะเผยแพร่ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดียต่างๆ, รูปแบบที่นำเสนอ เช่น บทความ, รูปภาพ, Infographic รวมถึงความถี่ และช่วงเวลาที่เผยแพร่
สอบถามรายละเอียดฟรี!! กับ FUNNEL