Google E-A-T คืออะไร ปรับใช้ยังไงให้เว็บติดหน้าแรกได้จริง!
Google E-A-T คือ กฎเกณฑ์ของ Google ย่อมาจาก “Expertise, Authoritativeness, Trustworthiness” และเป็นแนวทางที่ Google ใช้ในการประเมินคุณภาพของเนื้อหาและเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือและความรู้ที่ถูกต้องจากแหล่งออนไลน์ Google E-A-T ช่วยให้ Google คัดสรรหน้าเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานนั่นเอง
Google E-A-T คืออะไร?
Google E-A-T คือหลักเกณฑ์ที่ Google ใช้เพื่อกำหนดว่า บทความหรือเว็บไซต์ต่าง ๆ มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดให้ลำดับค้นหาใน Google มีการปรับเปลี่ยนขึ้นลง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักทำ SEO เรียนรู้การทำงานของหลักเกณฑ์นี้เพื่อที่จะนำไปปรับใช้กับเนื้อหาบนไซต์ของตนเองให้ถูกจัดอันดับเอาไว้บนหน้าแรก ๆ นั่นเอง
Google E-A-T ย่อมาจากอะไรบ้าง
- E: Expertise (มีความเชี่ยวชาญ)
- A: Authority (ไว้ใจได้)
- T: Trustworthiness (มีความน่าเชื่อถือ)
ซึ่งทั้ง 3 ข้อนี้จะเป็นเกณฑ์ที่ของ Google E-A-T ที่ทำหน้าที่คล้ายกับ Proof Reading เพื่อวัดคุณภาพเนื้อหาจากไซต์ต่าง ๆ ว่ามีคุณภาพและน่าเชื่อถือมากพอสำหรับผู้ใช้หรือไม่
การทำงานที่น่าสนใจของ Google E-A-T
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าหลัก Google E-A-T SEO คืออะไร และมีหน้าที่ทำอะไรนั้นผู้อ่านอาจเห็นได้ว่าก็ไม่ได้มีสิ่งใดแปลกใหม่ เพราะการทำงานหลัก ๆ ของ Google นั้นก็มักจะมี Concept เช่นนี้อยู่แล้ว
แต่มีใครเคยสงสัยไหมว่า การวัดคุณภาพเนื้อหาจากเว็บไซต์ของ Google ตามหลัก Google E-A-T 2023 นั้นสามารถวัดได้จริงหรือ แล้วใช้คะแนนหรือตัวเลขไหนเป็นตัวตัดสิน?
เพราะถ้าหากวัดกันจากตรรกะที่ว่า “เนื้อหาจากเว็บไซต์นั้น ๆ ต้องเป็นข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญและมีความน่าเชื่อถือ” แต่ทำไมเนื้อหาในทุก ๆ หมวดจึงถูกนำมาจัดอันดับบนหน้า Search Result Engine ได้หมด ตั้งแต่เรื่องเฉพาะทาง เช่น ยารักษาโรค การแพทย์ต่าง ๆ และกฎหมาย ที่ต้องให้ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญและต้องมีความน่าเชื่อถือ ไปจนถึงเรื่องใคร ๆ ก็เขียนได้ แต่ทำไมเนื้อหาในแต่ละหมวดหมู่ก็ยังได้รับการเก็บจาก Bot และผ่านเกณฑ์ Google E-A-T เข้าสู่การจัดอันดับอยู่ดี
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในเมื่อหัวข้อของบทความจากเว็บไซต์ต่าง ๆ บน Google มีความน่าเชื่อถือไม่เท่ากัน แล้ว E-A-T ทำงานยังไงกันแน่
ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้เราพอเข้าใจหลักตรงนี้ได้ก็คือ 5 สิ่งต่อไปนี้ที่เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการทำงานของ Google E-A-T Algorithm Update นั่นเอง ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น มาตามดูไปพร้อมกัน
5 ปัจจัยที่ใช้วัดคุณภาพเนื้อหาตามหลัก Google E-A-T
ไม่ว่าเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอะไร แต่สิ่งที่นัก SEO ควรคำนึงถึง คือ 5 ปัจจัยนี้ ประกอบด้วย
1. ต้นฉบับของข้อมูล, เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และหน้าเนื้อหาที่ถูก Published ล่าสุด
การวัดคุณภาพตามเกณฑ์ Google E-A-T ตาม 3 อย่างมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
ต้นฉบับ
หากพูดถึงวงการเพลง หลาย ๆ คนต้องเคยได้ฟังเพลง Cover ที่ดีกว่าต้นฉบับ การทำ SEO ก็เช่นกัน เพราะจากการศึกษาของ Molly Ploe นักเขียนด้านการตลาดของ Moz.com ได้กล่าวเอาไว้ว่า บทความที่เป็นต้นฉบับ ของข้อมูลให้กับเว็บไซต์อื่น ๆ ถูกจัดอันดับได้ไม่ดีเท่าเว็บไซต์ที่นำข้อมูลจากต้นฉบับนั้นไปเขียนในแบบของตนเองหรือเพิ่มเติมเนื้อหาของตนเองลงไปด้วย นั่นจึงหมายถึงว่า ไม่ว่าเราจะมีข้อมูลต้นทางจากต้นฉบับไหน ควรใส่ข้อมูลของตนเองลงไปด้วย เพื่ออันดับที่ดีขึ้น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการตรวจสอบเฉพาะทาง
หลังจากมีเนื้อหาของเว็บไซต์ที่ดูโดดเด่นแล้ว ในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ทำ SEO ต้องตอบคำถามของตนเองให้ได้ว่าจุดประสงค์ของเนื้อหาในเว็บไซต์นั้นมีหลักที่แน่ชัดหรือไม่ และจุดประสงค์นั้นมีความเฉพาะทางหรือเปล่า เพราะเกณฑ์ Google E-A-T นั้น การเรียบเรียงเนื้อหาก็ควรมีความครอบคลุมมากที่สุดเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ เพราะจะยิ่งไต่อันดับได้สูงขึ้นนั่นเอง (การเขียนบทความประเภท การเงิน สุขภาพ และการแพทย์ จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือโดยถือหลัก Google E-A-T เพื่อให้ Google ขยับบทความของเราให้ขึ้นไปอยู่ในลำดับที่สูงขึ้น และกลายเป็นบทความแนะนำ)
เนื้อหาที่ถูกเผยแพร่และการอัปเดตล่าสุด
ตามหลัก Google E-A-T เรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว หลังจากเขียนบทความและเผยแพร่แล้ว การที่จะทำให้บทความคงอยู่ในอันดับที่ดีได้นั้นต้องอาศัยการกลับเข้าไปอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจไม่ต้องบ่อยแบบเดือนต่อเดือน แต่อย่างน้อย ๆ ต้องมีการเข้าไปเพิ่มเติมเนื้อหาบ้าง ซึ่งเป็นวิธีช่วยรักษาอันดับที่ดี
2. Off-page ก็สำคัญ
สำหรับคำว่า Off-page ที่กำลังพูดถึงนี้ หมายถึง การปรากฏตัวของเว็บไซต์ของเราในช่องทางต่าง ๆ โดย Off-page คือ การใช้ปัจจัยภายนอก หรือ เว็บไซต์ภายนอก นอกเหนือจากเว็บไซต์ของเรา เชื่อมโยงกลับมายังเว็บไซต์หลัก ช่วยให้ผู้ค้นหาเข้ามายังเว็บไซต์ของเราผ่านลิงก์ที่เชื่อมโยงมาจากเว็บอื่น เพื่อเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ของเรา ทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จักและดูน่าเชื่อถือมากขึ้นโดยอิงหลัก Google E-A-T
(อยากเพิ่ม Traffic ให้เว็บไซต์ ทำไมต้องเพิ่ม Pages? อ่านต่อได้ที่นี่)
3. เว็บไซต์ต้องมีความน่าเชื่อถือ
กฎเกณฑ์ Google E-A-T ความน่าเชื่อถือของเนื้อหาในแต่ละไซต์นั้นมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ดังนั้น ในหน้าเนื้อหาควรมีชื่อผู้เขียน หรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาเขียนแนบลงไปด้วย เพื่อความมั่นใจของผู้ใช้ที่เข้ามาเยี่ยมชมยังหน้าเว็บไซต์ของเรา
4. เชื่อมต่อเนื้อหาไซต์ไปยังที่อื่น ๆ
สามารถทำได้หลัก ๆ 2 ช่องทาง คือ
เว็บไซต์ที่ใหญ่กว่า
หรือการแนบ External Link ไปยังเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเข้ามายังหน้าเนื้อหาที่เราคุ้นเคยกันดี
Backlink
คือ ลิงก์ที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์อื่นมายังเว็บไซต์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นลิงก์ที่เราสร้างเอง หรือลิงก์ที่ผู้อื่นสร้างขึ้นเพื่ออ้างอิงมายังเว็บไซต์ของเรา โดยสามารถตรวจสอบได้จาก Google Search Console
5. เทคโนโลยีที่จำเป็นของเว็บไซต์
เว็บไซต์ในปัจจุบันยังต้องการเทคโนโลยีสำหรับการแจ้งเตือนคุกกี้ และบางเว็บไซต์ก็ใช้ป๊อปอัปเพื่อถ่ายทอดข้อความสำคัญ คนอื่นใช้โฆษณาเพื่อสร้างรายได้จากไซต์ของตนเอง ดังนั้นหากมีความจำเป็น ก็ควรนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ด้วย
ท้ายที่สุด การใช้หลัก Google E-A-T Guidelines ในการทำ SEO จำเป็นต้องใช้เวลา เพื่อพัฒนาลำดับให้สูงขึ้น ผู้เขียนจะต้องตระหนักถึงความถูกต้องของข้อมูลที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้อ่าน เนื่องจาก การเขียนบทความโดยไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน หรือการให้คำแนะนำที่ทำให้เกิดผลกระทบในชีวิตประจำวันของผู้อ่านและควรอัปเดตในสิ่งที่ Google E-A-T Update กำลังให้ความสนใจอย่างสม่ำเสมอและพัฒนาการเขียนของตนเองอยู่ตลอดด้วย เพื่อคงคุณภาพด้านเนื้อหาที่ดีนั่นเอง
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
Google E-A-T สำคัญกับการทำ SEO ยังไง
Google E-A-T ดีต่อการทำ SEO เพราะทำให้เว็บไซต์ที่มีเนื้อหามีคุณภาพสูงและความเชื่อถือสูงมีโอกาสในการจัดอันดับสูงขึ้นในผลการค้นหา Google ซึ่งส่งผลให้เพิ่มการเข้าชมและความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้
ปรับใช้ Google E-A-T ยังไงถึงจะดี
– มีเนื้อหาคุณภาพ: สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงและเชี่ยวชาญในสาขาของคุณ
– ให้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ: หากเป็นเนื้อหาที่ต้องการความเชี่ยวชาญในสาขานั้น ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและอ้างอิงถึงที่มาของข้อมูล
– สร้างความเชื่อถือ: ให้ข้อมูลการติดต่อของคุณและรายละเอียดของเว็บไซต์เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับผู้ใช้