ทำความรู้จัก 14 บทลงโทษจาก Google ที่เว็บไซต์ชอบแหกกฏต้องเจอ

Google Penalty เป็นวิธีที่ Google จะทำให้แน่ใจว่าเว็บไซต์จะไม่ฝ่าฝืนและปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด ซึ่งหากลองเปรียบเทียบให้ได้เห็นภาพง่าย ๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับการที่เราห้ามทำผิดกฎของโรงเรียนนั่นเอง ดังนั้น Google Penalty จะเป็นสิ่งที่คอยเตือนเหล่าเว็บไซต์ต่าง ๆ ว่า หากคุณทำผิดกฏ คุณต้องเจอบทลงโทษอะไรบ้าง

ซึ่งเราต่างรู้กันดีว่า Google ให้ความสำคัญกับ User มาก ๆ ดังนั้น มันจึงต้องทำทุกวิธีเพื่อให้แน่ใจว่า User สามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้เมื่อ Use ค้นหาบนอินเทอร์เน็ต ดังนั้น  Google จึงมีกฎบางอย่างสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์เหล่านั้นให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และถูกต้อง

แม้ว่าบางครั้งบางเว็บไซต์จะพยายามโกงและฝ่าฝืนกฎ มันเหมือนกับการเล่นฟุตบอล ที่มีทีมหนึ่งไม่เล่นตามกติกา มันจึงทำให้เกมนี้ไม่ยุติธรรม และถ้าหากเทียบกันกับวงการ SEO ที่ถ้าหากมีเว็บไซต์ที่ละเมิดกฎ ก็อาจทำให้ User ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ยากขึ้น ซึ่งนั่นไม่ยุติธรรมเช่นเดียวกัน

โดยบทลงโทษส่วนใหญ่ที่หลาย ๆ เว็บไซต์ต้องเจอนั่นก็คือ การที่ Google ลดการนำหน้าเว็บไวต์นั้น ๆ ขึ้นบน Search Page Result ส่งผลให้ User ค้นหาหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวน้อยลงไปด้วยนั่นเอง

การได้รับบทลงโทษจาก Google SEO Penalty นั้นอาจเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับเว็บไซต์และอาจส่งผลเสียต่อธุรกิจของแบรนด์นั้น ๆ เป็นอย่างมาก  เพราะมันอาจหมายถึงการที่ User ของ Google ในจำนวนมหาศาลไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้นั่นเอง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเว็บไซต์จึงต้องปฏิบัติตามกฎของ Google อย่างแฟร์ ๆ อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าบทลงโทษของ Google ที่สำคัญ ๆ มีอะไรบ้าง และถ้าหากเว็บไซต์ของเราโดนลงโทษ เราต้องทำยังไง ตามมาดูไปพร้อม ๆ กัน

  • บทลงโทษจากGoogle คืออะไร?
  • บทลงโทษจากGoogle มีอะไรบ้าง?

Google SEO Penalty 14 ข้อ มาจากไหน มีกี่แบบและมีแบบใดบ้าง?

บทลงโทษของ Google มีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ Manual Action และ Algorithmic penalties ซึ่งบทลงโทษทั้ง 2 แบบก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยจะแบ่งออกเป็นบทลงโทษจากฝั่ง Manual Action จำนวน 8 ข้อและ  Algorithmic penalties อีก 6 ข้อ รวมเป็น 14 ข้อ และมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.Manual Action 

บทลงโทษประเภทนี้เป็นบทลงโทษที่มาจากทีมเจ้าหน้าที่ของ Google เอง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาในรูปแบบการแจ้งเตือนบทลงโทษทาง Google Search Console โดยเว็บไซต์ที่มักจะถูกทำโทษด้วยวิธีการนี้ มักเป็นเว็บไซต์ที่ Google พบว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีการละเมิดหลักเกณฑ์สำหรับผู้ดูแลเว็บอย่างชัดเจน เช่น การใช้กลยุทธ์ SEO ที่บิดเบือนหรือมีเนื้อหาคุณภาพต่ำ เมื่อมีการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่กับเว็บไซต์ เจ้าของเว็บไซต์จะได้รับการแจ้งเตือนในบัญชี Google Search Console ซึ่งระบุถึงปัญหาเฉพาะที่นำไปสู่การลงโทษต่อไป

ยังไงก็ตาม ผลกระทบของการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของ Google นั้นอาจแตกต่างกันไป โดยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการละเมิดนั่นเอง  ในบางกรณี บทลงโทษอาจส่งผลต่อหน้าเว็บที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น หรือในขณะที่ในบางกรณี เว็บไซต์ที่ทำความผิดอาจถูกลดระดับในการจัดอันดับของเครื่องมือค้นหาหรือแม้แต่ถูกลบออกจากดัชนีทั้งหมด เป็นต้น

โดยบทลงโทษที่อยู่ในหมวด Manual Action นี้ประกอบด้วย ข้อย่อย ๆ 8 ข้อด้วยกัน ดังนี้

1. เนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ที่มีน้อยเกินไป

หรือ Thin Content หมายถึง หน้าที่มีเนื้อหาต้นฉบับเพียงเล็กน้อย, หน้าที่ไม่มีเนื้อหาลย หรือหน้าที่สั้นเกินไป ซึ่ง Google มองว่าหน้าเนื้อหาดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อ User มากนัก ดังนั้น  เพื่อแก้ไขและทำให้เราหลุดจากบทลงโทษข้อนี้ นักทำ SEO หรือ ผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องเพิ่มเนื้อหาคุณภาพสูงและไม่ซ้ำใครลงในหน้าเนื้อหาของตนเอง เพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละหน้าเนื้อหาของเราให้คุณค่าแก่ User ของ Google จริง ๆ

2. ลิงก์ที่เข้ามาอย่างผิดธรรมชาติ

หรือ Unnatural Links เป็น ลิงก์ที่ระบบของเครื่องมือค้นหาจับได้ว่าถูกใส่เข้ามาอย่างไม่เหมาะสม หรือไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความนั้น ๆ เช่น ลิงก์ที่ต้องชำระเงินหรือลิงก์จากรูปแบบลิงก์ ในการแก้ไขบทลงโทษนี้ ผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องระบุลิงก์ที่ผิดปกติและลบออกหรือปฏิเสธโดยใช้ Google Search Console ค้นหา ทั้งนี้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ Google เมื่อสร้าง Backlink ใหม่ไปยังเว็บไซต์ไซต์ของเราให้รอบคอบด้วย

3. สแปมที่ผู้ใช้สร้างขึ้น

หรือ User-generated Spam หมายถึง เนื้อหาที่ผู้ใช้เป็นผู้สร้างขึ้นแต่ดันกลายเป็นสแปมไปซะดื้อ ๆ  เช่น ความคิดเห็นหรือโพสต์ในกระทู้ต่าง ๆ ที่มีลิงก์ไปยังเนื้อหาคุณภาพต่ำหรือไม่เกี่ยวข้อง สำหรับวิธีแก้ไข คือ ผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องทำการลบเนื้อหาที่เป็นสแปมออก และใช้มาตรการเพื่อป้องกันสแปมที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เช่น การใช้เครื่องมือตรวจสอบหรือตั้งค่า captcha เป็นต้น

4. เนื้อหาที่ถูกแฮ็ก

หรือ Hacked Content หมายถึง หน้าเว็บที่ถูกแฮ็กและมีเนื้อหาที่เป็นสแปมที่อาจเป็นอันตราย สำหรับแนวทางแก้ไข ผู้ดูแลเว็บไซต์จะต้องลบเนื้อหาที่ถูกแฮก และดำเนินการเพื่อรักษาความปลอดภัยให้เว็บไซต์ของตนเองเพื่อป้องกันการแฮ็กในอนาคต เช่น การอัปเดตซอฟต์แวร์เว็บไซต์ ฯลฯ ดังนั้น ให้ใช้รหัสผ่านที่รัดกุมมากขึ้น เพื่อการป้องกันที่แน่นหนา

5.สแปมแท้

สแปมแท้ สแปมบริสุทธิ์ หรือ Pure Spam หมายถึงเว็บไซต์ที่ใช้กลยุทธ์สแปมเพื่อควบคุมอันดับการค้นหา เช่น การปิดบัง การใส่คำหลัก หรือเนื้อหาที่คัดลอกมาจากเว็บไซต์อื่น ๆ นั่นเอง สำหรับแนวทางแก้ไขเมื่อเจอบทลงโทษนี้ เจ้าของเว็บต้องทำการนำเนื้อหาที่เป็นสแปมออก ทั้งนี้ อย่าลืมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ Google เมื่อเพิ่มประสิทธิภาพไซต์ของตนเองด้วย

6. การซ่อนข้อความและคีย์เวิร์ด

หรือ Hidden Text and Keyword Stuffing หมายถึงกลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการยัดคีย์เวิร์ดลงในเนื้อหาของเพจและทำการซ่อนข้อความหรือคีเวิร์ดนั้น ๆ จากผู้ใช้เพื่อควบคุมอันดับการค้นหา สำหรับแนวทางการแก้ไขคือ เจ้าของต้องลบข้อความที่ซ่อนอยู่หรือการใส่คีเวิร์ดด้วยวิธีผิด ๆ ดังกล่าวออก  ทั้งนี้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ Google อย่างถูกต้องแล้วเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไซต์ของเรา

7. Cloaking and Sneaky Redirects

หมายถึง กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงเนื้อหาที่แตกต่างกันแก่ผู้ใช้และเครื่องมือค้นหา หรือการเปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้ไปยังหน้าอื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ User คลิกเพื่อเข้าชมจริง ๆ  ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์สามารถแก้ไขได้โดย ต้องทำการลบการปิดบังหรือการแอบเปลี่ยนเส้นทางออก และอย่าลืมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ Google ให้ถูกต้องด้วย

8. Schema Markup ที่มีโครงสร้างเป็นสแปม

หมายถึง การใช้มาร์กอัปข้อมูลที่มีโครงสร้างในลักษณะที่ละเมิดหลักเกณฑ์ของ Google เช่น มาร์กอัปเนื้อหาที่ซ่อนอยู่หรือไม่เกี่ยวข้องกับหน้า สำหรับการแก้ไขบทลงโทษนี้ ผู้ดูฉลเว็บไซต์ต้องนำมาร์กอัปที่มีโครงสร้างที่เป็นสแปมออก และปฏิบัติตามหลักของ Google เมื่อนำข้อมูลที่มีโครงสร้างไปใช้ในไซต์ของตนเองให้ถูกต้องด้วย

ยังไงก็ตาม การแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นจากการลงโทษแบบ Manual Action นั้นอาจเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานและซับซ้อน โดยทั่วไปแล้วมักใช้เวลาไปกับการระบุปัญหาเฉพาะที่นำไปสู่การลงโทษ ซึ่งหลังจากผู้ดูแลเว็บไซต์ทำการแก้ไขแล้ว ก็ต้องส่งคำขอให้พิจารณาใหม่ไปยัง Google เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ได้รับการอนุมัติ เว็บไซต์อาจเริ่มกู้คืนอันดับของเครื่องมือค้นหาเมื่อเวลาผ่านไปตามลำดับ

2. Algorithmic penalties 

บทลงโทษนี้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อ Google อัปเดต Algorithm ของตนเองแล้วตรวจจับได้ว่าเว็บไซต์ไม่ได้ทำตามข้อกำหนดที่วางเอาไว้ จึงทำให้เว็บไซต์โดนลดอันดับแบบอัตโนมัติ มักถูกใช้เมื่อ Google ตรวจพบรูปแบบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงกลวิธี SEO ที่เป็นสแปมหรือบิดเบือน เช่น การใส่คำหลักหรือรูปแบบลิงก์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้บทลงโทษอัลกอริทึมเมื่อเว็บไซต์มีเนื้อหาคุณภาพต่ำหรือไม่ตอบสนองความต้องการของ User อีกด้วย

โดยการลงโทษประเภทนี้ ผู้ดูแลเว็บไซต์จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า Google อาจทำการจัดอันดับให้เว็บไซต์ของเรา (ในกรณีที่ทำผิดกฏ) ลดลงอย่างมากหรือหน้าเนื้อหาของเว็บไซต์ที่เคยติดอยู่ในอันดับที่ดี ๆ อาจหายไปเลยก็ได้ ซึ่งอาจรวมถึงการลบเนื้อหาคุณภาพต่ำ การปฏิเสธ Backlink ที่เป็นสแปม และการปรับปรุงประสบการณ์ของ User โดยรวมของเว็บไซต์ด้วย

โดยบทลงโทษที่อยู่ในหมวด Algorithmic penalties นี้ประกอบด้วย ข้อย่อย ๆ 6 ข้อด้วยกัน ดังนี้

9. Panda Penalty

เป็นบทลงโทษที่มุ่งเป้าไปยังเนื้อหาคุณภาพต่ำ ซึ่งรวมถึงเนื้อหาบาง เนื้อหาซ้ำ และเนื้อหาที่เต็มไปด้วยคีเวิร์ดที่เว็บไซต์นั้น ๆ ต้องการใช้ สำหรับแนวทางการแก้ไข คือ ผู้ดูแลเว็บต้องมุ่งเน้นที่การสร้างเนื้อหาต้นฉบับคุณภาพสูงที่สุดเพื่อให้ Google มองว่าเนื้อหาของเรามีคุณค่ามากพอสำหรับ User ของเราเอง ดังนั้น หากเว็บไไซต์หนที่ถูกลงโทษแบบนี้ ก็ควรลบเนื้อหาที่ซ้ำกัน เนื้อหาน้อย หรือเนื้อหาที่ยัดคเวิร์ดออกจากไซต์ให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นไปมากกว่านี้

10. Penguin Penalty

เน้นตรวจสอบจัดการเว็บไซต์ที่มี Low Quality Content ประเภทที่ไป copy เนื้อหาของเว็บอื่นมา หรือเป็นเว็บที่มีเนื้อหาในแต่ละเพจน้อยๆ และมี duplicated content ภายในเว็บไซต์จำนวนมาก รวมถึงเว็บไซต์ที่ทำ keyword stuffing (การใส่ keyword ในเนื้อหามากเกินไป) และเว็บไซต์ที่มี affiliate link จำนวนมากๆ ซึ่ง Google เชื่อว่าเป็นการสร้าง User Experience ที่ไม่ดีนั่นเอง แนวทางแก้ไขคือ ผู้ดูแลเว็บคุณต้องทำการตรวจสอบก่อนว่า Backlink ไหนที่มีคุณภาพต่ำเพราะอาจเป็นสแปมซึ่งชี้กลับมายังเว็บไซต์ของเราได้ จากนั้นทำการลบหรือปฏิเสธลิงก์ดังกล่าว และให้ความสำคัญกับการสร้าง Backlink  ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือเว็บไซต์และมีคุณภาพสูงมายังเว็บไซต์ของเราจะดีกว่า

11. Hummingbird Penalty

Algorithm นี้โฟกัสไปที่การปรับปรุงความสามารถของระบบในการเข้าใจสิ่งที่ยูสเซอร์ต้องการค้นหาจริงๆ ซึ่งเป็นความสามารถที่ช่วยให้ Google เข้าใจรูปแบบความหมายของการค้นหาที่เป็นประโยคยาวๆ ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาด้วยประโยค “ซื้อ iphone 6s ได้ที่ไหนบ้าง” Google จะสามารถเข้าใจความต้องการของการค้นหาว่าต้องการผลลัพท์ที่เป็น “สถานที่” ใกล้ๆ บ้านหรือ location ปัจจุบันได้ ดังนั้น ให้แต่ละเว็บไซต์เน้นที่ใช้คำให้เหมาะสำหรับการค้นหาที่มีความหมายและการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษ Hummingbird และเน้นไปที่การสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาของ User  และตอบคำถามของ User เหล่านั้นอย่างเป็นธรรมชาติในเนื้อหาของเรา

12. ไม่รองรับการใช้งานบนมือถือ

หรือ Mobile Penalty โดยในปัจจุบันนี้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ ได้เข้าใช้งานผ่านช่องทางมือถือกันมากขึ้น ดังนั้น ในสายตาของ Google หากเว็บไซต์ไม่รองรับการใช้งานผ่านมือถือ หรือไม่สามารถแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ Google ประเมินว่าเว็บไซต์นั้น ๆ ไม่มีคุณภาพ จนส่งผลต่อการแสดงผลในหน้าแรกได้ วิธีแก้ปัญหา คือ  แนะนำให้ผู้ดูแลเว็บตรวจสอบประสิทธิภาพด้านการรองรับการใช้งานบนมือถือด้วยเครื่องมือ Google Search Console เพื่อดูข้อมูลให้ชัดเจนว่า เว็บไซต์ของเรามีประสิทธิภาพในการรองรับการใช้งานบนมือถือได้ดีมากน้อยแค่ไหน และเมื่อรู้แล้ว ก็จะสามารถทำการปรับปรุง UX/UI เพื่อให้หน้าเว็บไซต์ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้มากที่สุด

13. มีการใช้ลิงก์หรือโฆษณาเงินกู้

อัลกอริทึมตัวนี้จะพุ่งเป้าไปที่เว็บไซต์ที่ใช้กลวิธีสแปมหรือหลอกลวงเพื่อจัดอันดับโดยมักใช้ลิงก์หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อเงินด่วน รวมถึงข้อความค้นหาอื่น ๆ ที่น่าสนใจและสามารถหลอกลง User ได้ โดยในการแก้ไข ผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องลบเนื้อหาที่เป็นสแปมหรือกลวิธีบิดเบือนออกจากเว็บไซต์ของตนเองให้โดยเร็วที่สุดก่อนหน้าเว็บจะถูก Google ลดการมองเห็นลงหรือแบนเว็บไซต์ออกจากหน้าค้นหา เนื่องจากมีความไม่ปลอดภัยสูง

14.Pigeon Penalty

สำหรับอัลกอริทึม Pigeon นั้นจะไม่เหมือนกับ Panda และ Penguin ซึ่งไม่มีบทลงโทษที่แน่ชัดหรือร้ายแรงมากนัก จุดประสงค์คือให้ผลการค้นหาในท้องถิ่นที่แม่นยำและเกี่ยวข้องมากขึ้น โดยผลการค้นหาเว็บของ Google ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในท้องถิ่น ซึ่งอาจสังเกตได้ว่าการอ้างอิงเว็บไซต์และโอกาสในการขายเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากอัลกอริทึมนี้ และเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษ Pigeon ผู้ดูแลเว็บต้องแน่ใจว่าไซต์ของตนเองได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับการค้นหาในท้องถิ่น รวมถึงการใช้คีเวิร์ดในท้องถิ่นและการเพิ่มประสิทธิภาพรายชื่อ Google My Business ของตนเองด้วยเช่นเดียวกัน

และตามที่ได้บอกไว้ การกู้วิกฤตจากการลงโทษแบบต่าง ๆ ต้องใช้การผสมผสานระหว่างการหมั่นตรวจสอบปัญหาที่ตรงจุด การปรับปรุงและแก้ไข การร้องขอให้ Google พิจารณาใหม่ จากนั้นให้ผู้ดูแลเว็บอดทน และติดตามความคืบหน้าของคำร้องขอนั้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะดีขึ้นเองตามลำดับเช่นกัน

สรุป

โดยสรุป บทลงโทษของ Google เป็นปัญหาร้ายแรงที่อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจัดอันดับของ Search Engine,  Traffic  และการมองเห็นของเว็บไซต์ ดังนั้น การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างManual Action และ Algorithmic penalties เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเจ้าของไซต์ที่ต้องการรักษารากฐานของเว็บไซต์ให้มีความมั่นคงและแข็งแรงอยู่เสมอ

ทั้งนี้ หากถูกลงโทษ สิ่งสำคัญคือต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาที่นำไปสู่การลงโทษและดำเนินการเพื่อฟื้นฟูสภาพอย่างสมบูรณ์ การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ของ Google  สำหรับผู้ดูแลเว็บคือการจัดเตรียมเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์กันและมีคุณภาพสูงแก่ผู้ใช้ ซึ่งแนวทางเช่นนี้จะสามารถช่วยให้เราแน่ใจได้ว่าเว็บไซต์ของเรายังคงมีการตอบสนองและมี Feedback ที่ดีกับ Google Search Engine อยู่

Similar Posts