พิสูจน์กัน! ขนาดตัวอักษรของชื่อและแท็กของบทความมีผลต่อ Organic Traffic หรือไม่
เป็น Case Study ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งสำหรับวงการการทำ SEO ซึ่งเกี่ยวกับตัวอักษรของชื่อหรือแท็กของบทความนั้นๆ ว่ามีผลต่อการทำ SEO หรือไม่
การทำ “Sentence casing” (การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะคำแรกของชื่อบทความ) ในชื่อหรือแท็กของบนความนั้นๆ มีผลต่อการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ของเราหรือไม่ และถ้าหากส่งผลจะส่งผลไปในทิศทางใด (เนื่องจากหลักการใช้ภาษาอังกฤษต้องมีการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่)
นั่นจึงทำให้เกิดการทดสอบแบบแยก หรือ SEO Split Test ขึ้นมา เพื่อเป็นข้อพิสูจน์กันเลยว่าการจัดรูปแบบของ H1 เช่นนี้มีผลจริงต่อยอดเข้าชมจริงหรือไม่
ซึ่งทางเว็บไซต์ได้เริ่มต้นด้วยการตั้ง Quiz ถามเหล่า Followers บน Twitter Account ของตนเองว่าผู้ติดตามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างไร
คำถาม: คุณคิดว่าการ การทำ Sentence casing ในชื่อหรือแท็กของบนความนั้นๆ มีผลต่อการคลิกเข้าชมเว็บไซต์แบบออร์แกนิคไปในทิศทางใด
ซึ่งผลส่วนใหญ่โหวตให้คำตอบ Positive หรือ “ส่งผลไปในทางบวก อีกนัยนึงคือ หลายๆ คนคิดว่าการทำ Sentence casing จะช่วยให้ยอด Organic Traffic เพิ่มขึ้นได้ง่าย” ถึง 50%
แต่คำตอบที่ทางเว็บไซต์มาเฉลยกลับเป็น Negative หรือ “ส่งผลไปในทางลบ” เพราะความจริงคือ การทำ Sentence casing ให้กับชื่อบทความหรือแท็กดันส่งผลลบต่อ Organic Traffic นั่นเอง แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น….
เรามาติดตามไปพร้อมๆ กัน
ประเด็นของกรณีศึกษา
เว็บไซต์ semrush.com ได้ระบุไว้ว่า ในช่วงหลายๆ ปีมานี้ เหล่านัก SEO มากมายได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียนชื่อบทความ (H1) หรือการเขียนแท็ก (Tag) ของบทความยังไงให้ออกมาสมบูรณ์แบบและดีที่สุดเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านของผู้ใช้และง่ายต่อการสร้างยอด Oraganic Traffic
ซึ่งหลายๆ บทความที่เราพบเห็น มักจะมีการทำ Sentence casing ให้กับชื่อบทความนั้นๆ เป็นจำนวนมาก แต่…ความเป็นจริงเราต้องเข้มงวดกับเรื่อง Sentence casing ของชื่อบทความหรือแท็กชื่อขนาดนั้นหรือไม่?
ซึ่งก่อนที่เราจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิสูจน์ข้อเท็จจริง เรามาสังเกตข้อแตกต่างระหว่างชื่อบทความทั้ง 2 แบบนี้กันก่อน
กรณีที่ 1 ชื่อบทความมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่แค่ เฉพาะคำแรก ของชื่อเท่านั้น (Sentence casing)
เช่น SEO ranking factors: does page experience matter?
กรณีที่ 2 ชื่อบทความมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ เฉพาะอักษรตัวแรก ของ แต่ละคำ
เช่น SEO Ranking Factors: Does Page Experience Matter?
สมมติฐาน
เมื่อได้ลองสังเกตจากตัวอย่างที่ให้ไปแล้ว เราลองมาดูการทดลองแบบทดสอบแยกกันดูบ้าง ซึ่งเมื่อเราต้องการทดสอบดูว่าการ Sentence casing บนชื่อบทความตามส่งผลต่อ CTR (Click through rate) จริงหรือไม่และอย่างไร ดังนั้น ทาง semrush.com จึงได้ทำการทดสอบแยก (SEO Split Test) โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่1: ตั้งชื่อบทความโดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ที่ตัวอักษรตัวแรกของบางคำ เป็นตัวตั้ง
- กลุ่มที่2: ตั้งชื่อบทความโดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่แค่ตัวแรกของชื่อบทความ (Sentencecasing) เป็นตัวแปร
ซึ่งจากสมมติฐานได้ตั้งเอาไว้ ก็คือ การทำ Sentence casing จะมีผลเสียต่อการเข้าชมที่เกิดขึ้นเองในหน้ารูปแบบต่างๆ เนื่องจากจะทำให้ชื่อหน้าอ่านยากขึ้นและสแกนได้ยากขึ้น
วิธีการทดสอบ
จากที่ได้พูดไปแล้วในตอนต้นว่า เว็บไซต์ semrush.com ได้ทำการทดสอบแบบ SplitSignal ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อตั้งค่าและวิเคราะห์การทดสอบ โดยเลือกมาทั้งหมด 70 หน้าซึ่งก็จะมีทั้งหน้าที่เป็นตัวตั้งและตัวแปรคละกันไป และใช้เวลาดำเนินการทดสอบเป็นเวลา 28 วัน
ผลการทดสอบ
ภาพด้านบนแสดงการพัฒนา/ความคืบหน้าของตัวแปร หรือหน้าที่มีการจัดทำ Sentence casing (เส้นสีส้ม) เทียบกับกลุ่มที่เป็นตัวตั้ง (เส้นสีน้ำเงิน) พบว่าการเข้าชมหน้ารูปแบบต่างๆ ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรเลยทั้งคู่
ซึ่งหลังจากการทดสอบผ่านไป 28 วันก็พบว่ายอด Organic Traffic ลดลง 2.4% ด้วยยอด confidence level 96%
ทำไมผลการทดสอบจึงออกมาเป็นเช่นนี้?
เมื่อนำเหตุผลจากข้อสมมติฐานมาประกอบก็จะทำให้สาเหตุของผลทดสอบชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากการ Sentence casing ให้กับชื่อบทความหรือแท็กของบทความจะทำให้ชื่อหน้าอ่านยากขึ้นและสแกนได้ยากขึ้น ซึ่งตามธรรมชาติแล้วหาก User รู้สึกว่าอ่านยากและไม่ตอบโจทย์กับจุดประสงค์ของการค้นหาข้อมูล User ก็สามารถไปเลือกเว็บไซต์อื่นที่มีชื่อบทความที่อ่านง่ายกว่าได้
ดังนั้น ผลการทดสอบนี้จะสรุปออกมาได้ว่า การทำ Title casing (ชื่อบทความตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด) กับชื่อบทความยังมีผลดีต่อยอด Organic Traffic กว่า Sentence casing ซึ่งก็เป็นประเด็นที่ดีสำหรับนักทำ SEO ที่จะนำไปปรับปรุงการทำเนื้อหาและไซต์ให้ดีขึ้น
ท้ายที่สุด ผลลัพธ์ของการทดสอบของ semrush.com ในครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลายๆ ไซต์เท่านั้น ซึ่งผลทดลองจะเป็นอย่างไรนั้นก็จะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของไซต์ได้วาง Site Map เอาไว้อย่างไรด้วยนั่นเอง ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนักทำ SEO หรือเจ้าของเว็บไซต์ในท้ายที่สุด