ใครคือคู่แข่งตัวจริง!? 3 วิธีที่จะทำให้คุณรู้ว่าต้องแข่ง SEO กับใครกันแน่
การวิเคราะห์คู่แข่ง หรือ Competitor analysis ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำการตลาดเป็นอย่างมาก แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ในหลาย ๆ ธุรกิจวิเคราะห์คู่แข่งพลาด และนำไปสู่การตัดสินใจโดยขาดข้อมูลและสูญเสียโอกาสไปในที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้จะฟังแล้วดูยาก แต่นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับนักการตลาดและนักทำ SEO ที่ต้องทำการวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์ SEO ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งลำพังแล้ว แนวคิดของเราที่รู้เกี่ยวกับคู่แข่งอาจเป็นเพียงส่วนเล็กของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น หรือที่แย่กว่าคือไม่รู้อะไรเลย
สำหรับการวิเคราะห์คู่แข่งนั้น อคติหลายอย่างของเราสามารถเข้ามาขวางทางได้ โดยเราอาจประเมินค่าความสำคัญของคู่แข่งสูงเกินไปหากเราใช้เพียงความคุ้นเคยกับแบรนด์นั้น ๆ หรือปล่อยให้อัตตาเข้ามาเขามามีอิทธิพลโดยคิดว่าเรากำลังแข่งขันกับปลาตัวใหญ่กว่าความเป็นจริงเป็นจริง
ฉะนั้น ในบทความนี้ เราจึงจะพูดถึงวิธีต่างๆ ที่คุณสามารถทำให้เราวิเคราะห์คู่แข่งด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่นักการตลาดหรือนักทำ SEO สามารถเลือกไปปรับใช้ได้จริงด้วย
ทำไม “การวิเคราะห์คู่แข่ง” จึงสำคัญ?
ในการทำธุรกิจไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามย่อมสามารถเกิดคู่แข่งได้ตลอดเวลา ทั้งคู่แข่งเก่าที่เกิดขึ้นมาก่อน และคู่แข่งหน้าใหม่ที่พึ่งเติบโต ด้วยเหตุนี้การวิเคราะห์คู่แข่ง คือ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของทุกคนประสบผลสำเร็จอย่างที่ตั้งใจเอาไว้ และยิ่งเราวิเคราะห์คู่แข่งออกมาได้ลึกซึ้งเท่าไหร่ เราก็จะพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งยังช่วยให้มองเห็นภาพความเป็นจริงของธุรกิจด้วย
สำหรับการทำ SEO นั้น คล้าย ๆ กับ Zero Sum Game หรือ เกมผมรวมศูนย์ ทุก ๆ ตำแหน่งที่เราได้รับในการจัดอันดับคือตำแหน่งที่คนอื่นเสียไป ดังนั้นการทำความเข้าใจว่าคู่แข่งของเราคือใครและสิ่งที่คู่แข่งกำลังทำอยู่นั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
โดย Competitor analysis ถือเป็นขั้นตอนพื้นฐานในเทคนิค SEO ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์เทคนิค SEO, การวิเคราะห์การทำเนื้อหา, การติดตามส่วนแบ่ง การค้นหา และเทคนิคการสร้างลิงก์ ต่าง ๆ ด้วย
จะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือ “คู่แข่งในการทำ SEO”
สิ่งที่จะบอกเราได้ว่าใครคือคู่แข่งทาง SEO ของเรา คือข้อสังเกต 3 ประการนี้
1.แบรนด์ที่ใช้ Main Keyword เดียวกัน
เป็นตัวชี้ให้เห็นได้ชัดทีสุด (แต่ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่เราจะนำมายึดมั่นว่าแบรนด์เหล่านี้จะเป็นคู่แข่งของเราเสมอไป) โดยเรามักจะเห็นคู่แข่งในข้อนี้อยู่บน SERP เดียวกันนั่นเอง
2. แบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดเดียวกัน
ในปัจจัยนี้ต้องมีความรอบคอบในการวิเคราะห์ เพราะสามารถทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย ซึ่งหากจะอธิบายให้มองเห็นภาพ ธุรกิจแบบ B2B และ B2C แม้จะใช้ Main Keyword คำเดียวกัน แต่เนื่องด้วยมีกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน ดังนั้น ทั้ง 2 จึงไม่ใช่คู่แข่งทางตรงแต่อย่างใด ซึ่งอาจมีหลาย ๆ คนเข้าใจผิดได้
3.แบรนด์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อเหมือนกัน
โดยบางแบรนด์อาจจะมีสินค้าที่ตอบโจทย์โดยตรง แต่บางแบรนด์ทำเป็นเนื้อหาออกมาแต่ตอบโจทย์ความต้องการของ User เช่นเดียวกัน ซึ่งแม้จะไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ที่ตรงกันแบบพอดี แต่ในทางเทคนิค SEO นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ตอบสนอง User ในเรื่องเดียวกันนั่นเอง
3 วิธีวิเคราะห์คู่แข่ง SEO ตัวจริง มีวิธีใดบ้าง?
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับเครื่องมือที่ช่วยให้เราวิเคราะห์คู่แข่งอย่างแม่นยำมากขึ้นนั้น เราต้องมาทำความเข้าใจกับแนวทางในการ analysis เสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งแบ่งเป็น 3 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน
1.Manual Analysis
เป็นวิธีเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดและนักทำ SEO โดยการวิเคราะห์คู่แข่งประเภทนี้ คือการดำเนินการค้นหาและวิเคราะห์คู่แข่งด้วยตนเองจาก Main keyword ที่เราใช้ จากนั้นจึงดูผลลัพธ์อย่างคร่าว ๆ เพื่อระบุคู่แข่ง SEO ของเราเอง อย่างไรก็ดี แม้จะมีโอกาสผิดพลาดได้ง่ายเพราะเป็นเพียงการเปิดหน้า SEPR ดู แต่ก็ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์เสียทีเดียว เพราะอย่างน้อยก็สามารถมองเห็นภาพคู่แข่งได้อยู่บ้าง
เหมาะกับใคร
วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับธุรกิจที่มีคีย์เวิร์ดเป้าหมายกลุ่มเล็กๆ หรือมีงบการตลาดจำกัด
ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีอย่างแรกเลยคือ “ฟรี” (เนื่องจากไม่ต้องใช้เครื่องมือแบบชำระเงินใด ๆ) ทั้งนี้ยังสามารถบอกภาพรวมของพฤติกรรมของผู้ใช้ที่มีต่อแบรนด์ของเราได้อย่างดีอีกด้วย แต่ข้อเสียก็คือแนวทางนี้มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะส่งผลให้เราวิเคราะห์ผิดพลาดเพราะข้อจำกัดในการใช้งานนั่นเอง
2.Bottom-up analysis
หรือแปลแบบตรงตัว คือ การวิเคราะห์จะล่างขึ้นบน ซึ่งวิธีการนำรายชื่อของเว็บไซต์ที่เราคาดว่าเป็นคู่แข่งหรือเว็บไซต์ที่อยู่หน้า SEPR เดียวกันจาก Main Keyword เดียวกัน มารวมกันและวิเคราะห์ความเป็นไปได้จากจากการเรียงลำดับจากมุมมองภาพเล็กไปภาพใหญ่ โดยจะมีความคล้ายคลึงกับแบบ Manual ที่เราสามารถวิเคราะห์ด้วยตนเอง แต่ต่างกันที่เริ่มมีตัวช่วยเข้ามาเสริม
เหมาะกับใคร
เหมาะกับเว็บไซต์ใหม่ที่ยังไม่ได้รับการจัดอันดับคีย์เวิร์ดในจำนวนที่มากนัก รวมถึงธุรกิจที่มีชุดสินค้าหรือคีย์เวิร์ดที่อยู่ติด Google จำนวนมาก
ข้อดีและข้อเสีย
แม้วิธีนี้จะช้า แต่ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด เนื่องจากมันขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือทาง SEO ต่าง ๆ สามารถทำให้นักการตลาด หรือ นักทำ SEO เสียเวลาน้อยลงด้วย
ข้อดีอีกอย่างของการวิเคราะห์ประเภทนี้ คือ สามารถวิเคราะห์การแข่งขันตามหัวข้อและแสดงคุณลักษณะ SERP ที่ Google แสดงให้ผู้ใช้เห็นให้เราเห็นได้เช่นกัน
วิธีดำเนินการวิเคราะห์คู่แข่งแบบ Bottom-up analysis
- 01. ระบุคีย์เวิร์ดและจัดคีย์เวิร์ดนั้น ๆ ออกเป็นหมวดหมู่
- 02. ดาวน์โหลดผลลัพธ์ SERP สำหรับคำหลักแต่ละคำ ด้วยเครื่องมือ SEO เช่น Semrush, Moz หรือ Ahrefs เป็นต้น (ซึ่งเราจะกล่าวถึงเครื่องมือดังกล่าวในลำดับต่อไป)
- 03. วิเคราะห์ข้อมูล SERP เพื่อดูว่าเว็บไซต์ใดปรากฏในผลการค้นหาของเราบ่อยขึ้น ยิ่งธุรกิจใดที่ปรากฏขึ้นบ่อย ก็ยิ่งมีความเกี่ยวข้องในฐานะคู่แข่ง SEO มากขึ้นเท่านั้น
- 04. กรองคู่แข่งปลอมออก ตรวจสอบผลลัพธ์เพื่อคัดกรองเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องซึ่งไม่ตรงกับเกณฑ์ของคู่แข่ง SEO ที่ระบุไว้ด้านบน
- 05. วิเคราะห์การแข่งขันของเราตามหัวข้อ จัดกลุ่มข้อมูลผลลัพธ์ SERP ตามกลุ่มหัวข้อ และเลือกคู่แข่งอันดับต้น ๆ ของเราตามหัวข้อนั้น ๆ
และจากขั้นตอนดังกล่าว นักทำ SEO สามารถเจาะลึกลงไปอีกเพื่อจำแนกคุณลักษณะของ SERP ที่แสดงสำหรับแต่ละคลัสเตอร์ (แต่ละกลุ่ม ๆ ) ซึ่งจะช่วยให้คุณระบุได้ว่ากลยุทธ์ที่ดีที่สุดของเราได้ โดยอาจแสดงเป็น อินโฟกราฟิก วิดีโอ รูปภาพ หรือรูปแบบอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน
3.Top-down analysis
หรือการวิเคราะห์จากบนลงล่าง สำหรับการวิเคราะห์ด้วยกลยุทธ์นี้ถือเป็นวิธีที่เร็วที่สุด ซึ่งหากนิยามแบบทั่วไปวิธีนี้ก็แทบไม่มีความต่างอย่างมากมายนักกับ 2 วิธีก่อนหน้านี้ แต่จะมีวิธีการที่ไม่เหมือนกันตรงที่การวิเคราะห์แบบ Top-down จะเน้นการวิเคราะห์จากภาพรวมในองค์กรมากกว่าการใช้ผลลัพธ์จากหน้า SEPR มาวิเคราะห์นั่นเอง
เหมาะกับใคร
เหมาะกับธุรกิจที่มีเว็บไซต์และการจัดอันดับคำหลักของตนอยู่แล้ว โดยวิธีนี้จะได้ผลดีที่สุดหากธุรกิจดังกล่าวมีความคิดที่ชัดเจนว่าสินค้าและคู่แข่งทางการค้าของคุณคือใคร
ข้อดีและข้อเสีย
ทำให้เกิด Connection ภายในองค์กรที่แน่นแฟ้นขึ้นในแผนกต่าง ๆ เนื่องจากต้องมีการทำงานร่วมกัน แต่ข้อเสียคืออาจไม่มีความละเอียดเท่ากับการวิเคราะห์แบบ Bottom-up ที่สามารถจัดหมวดหมู่คีย์เวิร์ดได้
วิธีดำเนินการวิเคราะห์คู่แข่งแบบ Top-down analyis
- 01. สอบถามแผนกอื่น ๆ เพื่อเชื่อมต่อกับทีมในองค์กรของคุณที่รับผิดชอบฝ่ายขาย ฝายพัฒนาสินค้า ฝ่าย Support และฝ่ายการตลาด เพื่อปรึกษาหารือว่าแต่ละฝ่ายคิดว่าคู่แข่งของแบรนด์คุณคือใครกันแน่
- 02. จัดลำดับความสำคัญ โดยจัดเรียงรายการตามความถี่ที่คู่แข่งแต่ละรายได้รับคำตอบจากแต่ละแผนก (จากขั้นตอนแรก) ยิ่งมีการกล่าวถึงคู่แข่งมากเท่าไหร่ รายชื่อก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
- 03. เปรียบเทียบกับเครื่องมือวิจัย SEO โดยใช้เครื่องมือวิจัยดังกล่าววิเคระห์รายชื่อคู่แข่ง SEO ที่มีให้ เพื่อทำการโยงกับรายการที่จัดลำดับมาแล้วและค้นหารายชื่อคู่แข่งที่ทับซ้อนกัน
ตัวอย่างเครื่องมือวิเคราะห์คู่แข่ง SEO
มีเครื่องมือ SEO มากมายที่คุณสามารถใช้สำหรับการวิจัยคู่แข่งได้ แต่ส่วนใหญ่ เครื่องมือ SEO ที่กำลังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้สามารถนำมาใช้ในการวิจัยคู่แข่งในบางรูปแบบเท่านั้น ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป
Semrush
มีข้อมูลพื้นฐาน เช่น รายชื่อคู่แข่ง SEO และฐานข้อมูลที่สมบูรณ์สำหรับคู่แข่ง PPC ซึ่งทำให้เป็นตัวเลือกที่ดี ทั้งนี้ เครื่องมือตัวนี้ยังแสดงการติดตามทั้งการจัดอันดับทั่วไปและคำหลักที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการค้นหาได้อีกด้วย
Moz
เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องใช้วิธีวิเคราะแบบ Top-down ซึ่งเครื่องมือตัวนี้จะสามารถแบ่งหมวดหมู่ของ Keyword ต่าง ๆ ให้เหมือนกับวิธีวิเคราะห์แบบ Bottom-up ได้ โดยจะให้ทั้งความเร็วด้วยและละเอียดด้วย
SISTRIX
โดดเด่นในด้านการวิเคราะห์และการระบุคู่แข่งด้วย Visibility index ซึ่งจากความสามารถนี้เองทำให้มันสามารถวิเคราะห์ SV ของ Keyword ต่าง ๆ พร้อมทั้ง CTR และ Domain ซึ่งทำให้เราสามารถทำการ Comparison ตัวเราและคู่แข่งได้ตลอดในช่วงระยะเวลาที่ต้องการ
Ahrefs
Ahrefs มีประสิทธิภาพมาก เมื่อพูดถึงการวิเคราะห์คู่แข่งโดยใช้วิธี Bottom-up เพราะมันมีความสามารถในการ Export ผลลัพธ์ SERP ที่แบ่งเป็นกลุ่มสำหรับคำหลักที่คุณเลือกเป็นไฟล์ CSV ได้ ทำให้วิธีนี้ทำงานเร็วขึ้นเล็กน้อยโดยไม่สูญเสียความแม่นยำนั่นเอง
ทั้งนี้ การ Export ยังมีคุณลักษณะของ SERP ที่แบ่งหัวข้อสำหรับแต่ละคำหลัก ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่มและวิเคราะห์ผลการค้นหาเป้าหมายของเราได้อีกด้วย
เมื่อรู้แล้วว่าคู่แข่ง SEO คือใคร…
หากตอนนี้คุณทราบอย่างชัดเจนแล้วว่าคู่แข่งของคุณคือใคร ก็สามารถเริ่มต้นด้วยการปรับเทคนิค SEO เพื่อเพิ่มการเข้าชมแบบออร์แกนิกของเว็บไซต์ให้ได้มากขึ้น
โดยถ้าหากคุณต้องการสร้างกลยุทธ์ SEO เต็มรูปแบบตั้งแต่เริ่มต้น สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก ๆ คือ การพิจารณาการวิเคราะห์ช่องว่างทางเทคนิค SEO เพราะจะช่วยให้เราค้นพบกลวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการช่วยให้นักการตลาด หรือ นักทำ SEO เข้าถึงผู้ใช้ทางออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ คุณอาจพบว่าคุณจำเป็นต้องเริ่มลงทุนกับ SEO ให้มากขึ้นเพื่อสร้างเนื้อหาเพิ่มเติมและสร้างแบรนด์ของตนเองให้เติบโต
และท้ายที่สุด หากคุณมีกลยุทธ์ที่มั่นคงและกำลังมองหาแนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหา การวิเคราะห์ Content gap จะเป็นขั้นตอนต่อไปที่น่าสนใจและทำให้การทำ SEO ของคุณมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วย