Google Web Stories คืออะไร ช่วยเพิ่มยอด Traffic ให้กับเว็บไซต์ได้จริงหรือไม่?
เป็นที่น่าจับตามองอีกครั้งเมื่อ Google ประกาศปล่อยตัวปลั๊กอิน WordPress รุ่นเบต้า ซึ่งถือเป็นฟีเจอร์ตัวใหม่จากทาง Google ที่จะช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่นักทำ SEO หรือ ผู้ที่อยู่ในสายคอนเทนต์ต่าง ๆ
โดยสำหรับใครที่เคยใช้งานฟีเจอร์ Storoies บน Instagram หรือ Facebook มาก่อน เจ้าปลั๊กอินตัวนี้ก็คงไม่ได้มีหน้าตาที่แปลกประหลาดมากนัก
แต่หลาย ๆ คนคงอยากรู้ว่า Google Web Stories นอกจากจะสร้าง Short VDO Content ได้แล้ว มันส่งผลอย่างไรต่อการทำ SEO หรือยอด Organic Traffic ของเว็บไซต์นั้น ๆ ได้บ้าง และถ้าหากอยากเพิ่มยอด Traffic เข้าเว็บไซต์ Google Web Stories จะช่วยได้จริง ๆ มากน้อยแค่ไหน ในวันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Google Web Stories กันก่อนว่ามันคืออะไรกันแน่
ไฮไลท์สำคัญเกี่ยวกับ Google Web Stories ที่มีต่อแบรนด์ / เว็บไซต์
- แม้ว่า Web Stories จะช่วยพัฒนาหรือต่อยอดให้กับแบรนด์ของคุณได้ในบางมิติ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลมากนักโดยเฉพาะกับแบรนด์ที่มีการตลาดแบบตอบต้องการการตอบสนองโดยตรงจากลูกค้า
- แม้จะช่วยเพิ่มยอดการเข้าชม (Traffic) ได้เป็นจำนวนมากไปยังเว็บไซต์ แต่การเข้าชมส่วนใหญ่นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอัตรา Bounce Rate ที่สูง
- เทคนิคสำคัญคือเราต้องวิเคราะห์ให้ดีว่า Web Story ของเรานั้นดึงดูดความสนใจของ User ได้ภายในไม่กี่วินาทีแรกจริง ๆ เพราะมิฉะนั้นเราอาจเสียโอกาสในการดึง User ได้
Google Web Stories คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
Google Web Stories เป็นตัวอัปเกรดของเทคโนโลยีเดิมที่ชื่อว่า Accelerated Mobile Pages (AMP) ซึ่งเจ้า Google Web Stories นี้จะเหมาะสำหรับคนที่ชอบดูคอนเทนต์ประเภท Visual มากกว่าอ่านตัวอักษร ด้วยความที่มันสามารถแสดงคอนเทนต์ได้อย่างรวดเร็วบนโทรศัพท์มือถือ และคอนเทนต์นั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่รูปเท่านั้น มีความโดดเด่นที่ต่างจาก Story บนแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Content ที่ถูกสร้างขึ้นจะไม่หายไปจนกว่าผู้สร้างจะลบ, ใช้ได้เฉพาะคนมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเท่านั้น และถือเป็น Web page ประเภทนึง ที่มี URL เฉพาะของตัวเอง มีโอกาสติดอันดับ SEO เหมือนเว็บทั่วไป เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ไฮไลท์ดังกล่าวเป็นข้อสรุปจาก Shehraj Singh นักเขียนออนไลน์ชาวต่างชาติท่านหนึ่งที่ได้ทำการทดสอบการใช้ Google Web Stories ในการเพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ว่าได้ผลจริงหรือไม่ และมีเทคนิคอย่างไรบ้างที่จะทำให้มันได้ผลอย่างสูงสุด เราจะมาศึกษาจาก Case Study นี้กัน
จุดเริ่มต้นในการทดสอบ…
Shehraj Singh หนึ่งในนักเขียน Blog ได้ระบุไว้ว่า ในขั้นตอนแรกนั้น เขาได้ทำการติดตั้งปลั๊กอิน Google Web Stories บน eReader.blog ซึ่งเป็นบล็อกส่วนตัวของเขาเอง
วิธีการทดสอบ
โดยวิธีที่เขาทำคือการเขียน e-reading และ ebooks สั้น ๆ เป็นจำนวน 10 เรื่องด้วยกัน โดยใช้เทมเพลต Google Web Story สร้าง Short VDO Content และโพสต์วันเว้นวันเป็นเวลาหนึ่งเดือน
ผลลัพธ์จากการทดสอบ
ผลงานการเขียนเรื่องแรกบนเว็บของเขาได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีการแสดงผลมากกว่า 194,000 ครั้ง โดยมีการดูหน้าเว็บที่ไม่ซ้ำกัน 1,302 ครั้งในสัปดาห์แรก
ทั้งนี้ ผลลัพธ์จากการทดสอบในช่วงระยะสังเกตรอบถัดมาก็มีผลตอบรับที่ดีเช่นกัน
โดยจากผลการทดสอบดังกล่าว ก็ทำให้ Shehraj Singh ได้สรุปออกมาว่า ผลรวมของยอดการเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้รับผลการตอบรับที่ค่อนข้างดี ซึ่งการทดสอบโดยการทส้ราง VDO Content ด้วย Web Stories นั้นอาจทำให้เว็บไซต์หรือบล็อกของเขาได้รับความสนใจจาก Google มากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสำคัญเกี่ยวกับ Google Web Stories ที่ควรรู้คือ…
- สร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
ทั้งในสายตาของ User เอง และ Google เองก็ดี ดูเหมือนว่า VDO Content จาก Web Stories จะไม่ได้ส่งผลมากนัก โดยเฉพาะกับแบรนด์หรือเว็บไซต์ที่มีการตลาดแบบ Direct response marketing โดยไม่ว่าจะเป็น Content ที่มีความดึงดูดแล้วก็ตาม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอีก Content ที่ดูไม่ได้โดดเด่นมากนัก แต่ยอดคลิกจาก User ก็ไม่ได้มากมายอะไร ดังนั้น หากใครที่ต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านปลั๊กอินตัวนี้อาจจะต้องเตรียมเทคนิคมาดี ๆ เพื่อตั้งรับการผลลัพธ์ดังกล่าว
- ยอดเข้าชมเว็บไซต์ที่มีความคงที่ ( Stable Traffic)
แม้ปริมาณการเข้าชมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะลดลงหลังจากสัปดาห์แรก และปริมาณการเข้าชม Web Story กลับเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอและค่อยเป็นค่อยไปเมื่อเวลาผ่านไป จนในปัจจุบัน บาง VDO Content ของ Shehraj Singh ได้รับ Indexing และกลายเป็นส่วนที่ทำให้เกิดยอด Organic Traffic ตามไปด้วย
Noted: Google Web Stories อาจทำให้ตัวเลขใน Analytic มีความยุ่งยากและซับซ้อน เช่น อัตราตีกลับ ระยะเวลาเซสชัน และหน้า/เซสชัน ฯลฯ
ดังนั้น นักทำ SEO หรือ นักทำ Content จึงควรตรวจสอบและกรองการเข้าชม Story บนเว็บไซต์ในแหล่งต่าง ๆ ให้ละเอียดและรอบคอบเพื่อการวิเคราะห์ที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น (โดยอาจตั้งค่า entity ในการติดตามแยกต่างหากอาจดีกว่า)
- รูปแบบการนำเสนอก็สำคัญ (Design Matters)
จากที่ได้กล่าวไป แม้ผลการทดสอบจากออกมาอย่างชัดเจนว่า VDO Content ไม่ได้ส่งผลต่อการสร้างการรับรู้แบรนด์ต่อ User หรือ Google มากนัก แต่รูปแบบของการนำเสนอ เช่น Design ของ Content หรือลูกเล่นต่าง ๆ กลับมีผลต่อยอดคลิกเข้าชม ซึ่งจากที่ Shehraj Singh ได้ทำการเปรียบเทียบ Content ของเขาเองก็ได้พบว่า Contetn ที่ดูมีความดึงดูด น่าสนใจ มียอดเข้าชม Story มากกว่า VDO Content แบบธรรมดา ดังนั้น เทคนิคการสร้าง VDO Content ที่สร้างสรรค์อาจช่วยเรียกยอดเข้าชมเว็บไซต์ได้เช่นเดียวกัน
สรุปผลการทดสอบ
โดยรวมแล้วการทดลองใช้ Web Stories เป็นที่น่าพอใจพอใจกับผลลัพธ์ที่ได้ และจะทดลองใช้ Web Stories ต่อไปเพื่อดูแนวโน้มในการต่อยอดในส่วนของการเพิ่ม Brand Awareness และเพิ่มยอด Organic Search และ Organic Traffic
ทั้งนี้แม้ Google Web Story จะดูเหมือนจะไม่ใช่ช่องทางที่ดีที่สุดในการเพิ่มยอด Conversion แต่มันก็เป็นก็เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจในการสร้างสรรค์ Content ต่าง ๆ โดยนักทำ SEO หรือ Content Creators อาจเน้นใช้ไปในการสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดผู้อ่านหรือ User ได้ หรือจะเป็นการสร้าง Content แบบ Evergreen Content ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน